ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    024980 พรบ.ล้างมลทินประชาชนผู้เสียภาษีตาดำ ๆ6 ธันวาคม 2550

    คำถาม
    พรบ.ล้างมลทิน

    ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้เทศบาลแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงกรณีข้าราชการทุจริตต่อหน้าที่ทำให้ราชการเสียหายกว่า 4 ล้านบาทเศษ (สตง.ชี้มูลความผิดให้จังหวัด) คณะกรรมการสอบสวนฯ เสนอความเห็นให้ลงโทษว่ากล่าวตักเตือน และกำลังอยู่ระหว่างรายงานให้จังหวัดทราบ แต่นายกเทศมนตรีผู้ซึ่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยฯ ชิงออกคำสั่งลงโทษข้าราชการผู้กระทำให้ราชการเสียหายด้วยโทษว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจาในวันที่ 4 ธันวาคม 2550 ถามว่า

    1) คำสั่งลงโทษว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา ถือเป็นโทษทางวินัยตามความในข้อ 6 แห่งพรบ.ล้างมลทิน2550 หรือไม่ ?

    2) ขั้นตอนการรายงานจังหวัดฯ เทศบาลสามารถรายงานผลการสอบสวนและสั่งลงโทษไปยังคณะอนุกรรมการพิจารณาดำเนินการทางวินัยฯ โดยไม่ส่งให้คณะกรรมการพนักงานเทศบาลประจำจังหวัดได้หรือไม่ ? อย่างไร

    3) ข้าราชการผู้กระทำให้ราชการเสียหาย ได้รับการล้างมลทิน ตาม พรบ.นี้หรือไม่ อย่างไร

    4) ถ้า พรบ.ล้างมลทิน มีผลบังคับให้ ข้าราชการผู้กระทำให้ราชการเสียหาย ไม่ต้องชดใช้กรรม ถามว่า เงินภาษีประชาชน 4 ล้านบาทเศษจะสามารถเรียกคืนจากผู้ใด

    คำตอบ

    1. ผมจำไม่ได้ว่ากฎหมายของท้องถิ่นกำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบจากจังหวัดก่อนหรือไม่ ถ้าต้องได้รับความเห็นชอบ การที่ นายกเทศมนตรีออกคำสั่งไปก่อน คำสั่งนั้นก็ใช้ไม่ได้ แต่ถ้าไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากจังหวัดก่อน คำสั่งนั้นก็ใช้ได้  แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิจังหวัดที่จะดำเนินการให้ถูกต้องในระดับของการลงโทษ  เพราะแม้ ก.พ.เคยถือเป็นหลักว่าถ้าพิจารณาแล้วเป็นคุณกับผู้ถูกลงโทษจึงจะพิจารณาต่อไป แต่ถ้าพิจารณาแล้วเป็นโทษก็จะไม่พิจารณา แต่นั่นก็เป็นทางปฏิบัติของ ก.พ.  ก.จังหวัดไม่จำเป็นต้องถือตาม ถ้าเห็นว่ากระบวนการนั้นเป็นการช่วยเหลือกันเกินกว่าเหตุ 

    2. ไม่ทราบ

    3. ขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามข้อ 1

    4. ถ้าเป็นความเสียหายจริง และไม่อาจเรียกจากข้าราชการได้ ก็ต้องเรียกจากนายกเทศมนตรี


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 ธันวาคม 2550