ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049358 ซื้อที่ดินโฉนด มีส่วนของสิ่งปลูกสร้างคนอื่นอยู่บนที่ดินเกษม4 กรกฎาคม 2556

    คำถาม
    ซื้อที่ดินโฉนด มีส่วนของสิ่งปลูกสร้างคนอื่นอยู่บนที่ดิน

    เดิมที่ดินเป็น นส.3 ของนาย ก. ซึ่งมีส่วนของบ้านอยู่บนที่ดิน ต่อมานาย ก.ได้นำที่ดินผืนดังกล่าวไปจำนองกับธนาคาร แล้วถูกธนาคารฟ้องบังคับคดีขายทอดตลาด มีบริษัท ข.ซื้อที่ดินได้และนำไปรังวัด ออกเป็นโฉนดเรียบร้อยแล้ว โดยนาย ก.ยังอาศัยอยู่ที่เดิม และไม่ได้มีการฟ้องขับไล่

    หลังออกโฉนดได้ 1 เดือน ผมซื้อที่ดินดังกล่าวต่อจาก บริษัท ข.

    ถามว่า

    1. ผมมีสิทธิฟ้องขับไล่ ให้ นาย ก. รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินได้หรือไม่ แนวโน้มจะเป็นอย่างไร

    2. หากผม มีไมตรี จะยินยอมให้เขาอาศัยอยู่ต่อไป โดยภายหน้าเขาพร้อม ก็ให้รื้อถอนออกไป แต่ไม่อยากผมเสียกรรมสิทธิ์ต่อเขาหรือทายาทในภายหน้า จะทำเป็นหนังสือสัญญาได้ไหม หรือให้เขาเช่าในราคาไม่แพงจะยังคงรักษากรรมสิทธิ์ได้ไหม

    3. ผมมีโอกาสเสียกรรมสิทธิ์ให้กับ นาย ก. หรือ บริวาร ในอนาคตตามครอบครองปริปักษ์ไหมครับ

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ

    1. มีสิทธิ  ส่วนแนวโน้มก็คือ คุณจะเป็นคดีความกับคนที่ครอบครองที่ดินของคุณ

    2. จะทำหรือไม่ทำสัญญา คุณก็รักษากรรมสิทธิไว้ได้เสมอ เพียงแต่ถ้าคุณเพิกเฉยปล่อยให้เขาครอบครองไปจนถึง 10 ปี คุณก็อาจเสียกรรมสิทธิ์ได้

    3. ดู ข้อ 2.


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 กรกฎาคม 2556