ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039447 ปรึกษาที่ดินลักษณ์4 มีนาคม 2553

    คำถาม
    ปรึกษาที่ดิน

    เรียน ปรึกษาท่านอาจารย์มีชัยค่ะ

    ปู่ได้ครอบครองสิทธิทำประโยชน์มานานก่อน พ.ศ. 2497 โดยปลูกยางพารา มะพร้าว สะตอ ประมาณ 25 ไร่เศษ ต่อมาได้แบ่งให้อาเขยเป็นจำนวน 10 ไร่ เสียภาษีบำรุงท้องที่มาตลอด ปู่ไม่ได้แจ้ง สค.1 รู้เมื่อพ้นกำหนดต่อมาได้ขายให้นาย ก เมื่อปี 2533 ทั้งของปู่และอาเขย ไม่ได้รับเงินเลย แต่นายหน้าจะมาเอาเงินค่านายหน้า ปู่ไม่มีเงินพ่อทราบเรื่องทีหลังในวันที่ไปรังวัดที่ดิน เพื่อจะออก น.ส.3 ก จึงมีบันทึกต่อท้ายสัญญาว่า

    “ที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายดังกล่าว จำเป็นต้องขอรังวัดต่อทางการเพื่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 เมื่อทางการได้ออก น.ส.3 ให้แล้ว ผู้ซื้อจะจ่ายให้ครบถ้วนตามสัญญาที่ได้ตกลงกันไว้ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ทางการได้ออก น.ส.3 ให้แล้ว ซึ่งยังค้างอยู่ (........เต็มจำนวนเงิน................) หากออก น.ส.3 ไม่ได้ ผู้ซื้อจะส่งมอบที่ดินตามสัญญานี้ คืนให้แก่ผู้ขายตามเดิม”

    หลังจากนั้นวันที่ ปี 2538 ปู่ ได้มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งหนังสือยกเลิกสัญญาซื้อที่ดิน ฉบับปี 2533 กับนาย ก ซึ่งผู้ซื้อละเลยการปฏิบัติตามสัญญา ห้ามมิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวข้องกับที่ดินแปลงดังกล่าวอีก

    เมื่อวันที่ ปี 2541 ปู่ได้เสียชีวิต ส่วนย่าได้เสียชีวิตเมื่อ ปี 2548 และมอบให้พ่อเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม

    กลางเดือนมกราคม 2553 ในเบื้องต้นพ่อ ได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินและเล่าเหตุการณ์ดังกล่าวข้างต้นกับ หัวหน้างานนิติกรรมรับรู้ ซึ่งได้แนะนำให้ทำหนังสือเรียนเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด เพื่อพิจารณาขอสอบถามความคืบหน้าการออกเอกสารสิทธิที่ดิน และผู้ถือกรรมสิทธิ์แปลงดังกล่าวนี้ พร้อมกับแนวทางการออกเอกสารสิทธิ์ในนามปู่และทายาท

    หลังจากนั้นเพิ่งได้รู้จากหัวหน้างานนิติกรรมว่า “ได้รับหนังสือเรื่องขอสอบถามเอกสารสิทธิที่ดินของปู่ ตามเลขที่หนังสือ และได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว พบว่ามีการมาขอรังวัดในนามบริษัท เนื่องจากนาย ก นำที่ดินไปขายต่อบริษัท(3-4 ทอด) ให้รอหนังสือตอบกลับ และรอเจ้าหน้าที่ของบริษัทนั้น ติดต่อกลับ ซึ่งได้ขอเบอร์โทรศัพท์ไปแล้ว ไม่เกินวันนี้ อย่างแน่นอน”

    พ่อกับอาที่ดูแลอยู่ได้รู้จึงไปยื่นขอคัดค้าน(การรังวัด) การออกเอกสารสิทธิ์กลับสนง.ที่ดิน ทางที่ดินได้รับเรื่องและจะรับพิจารณา ตอนนี้ยังไม่มีการติดกลับมาแต่อย่างใด (ไปขอยื่นคัดค้านอยู่ 2 ครั้ง ปฏิเสธ แต่ยืนยันที่จะคัดค้าน เจ้าหน้าที่จึงรับเรื่อง) ตอนนี้ไม่รู้จะต้องทำอย่างไรต่อไป ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

    ขอบพระคุณมากค่ะ

    คำตอบ
    ตอบไม่ได้ เพราะขาดข้อเท็จจริง เอาเป็นว่า ถ้าคุณหรือพ่อยังครอบครองที่ดินนั้นอยู่ การที่มีคนเอาไปขายต่อกันเป็นทอด ๆ ก็ไม่มีผลอะไร แต่ถ้าคุณหรือพ่อไม่ได้ครอบครองที่ดินนั้นแล้ว โดยปล่อยให้คนที่อ้างว่าซื้อครอบครองที่ดินนั้นตลอดมา กรณีก็อาจมีปัญหาว่าคุณจะยังมีสิทธิอยู่หรือไม่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 มีนาคม 2553