ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037780 โฉนดติดคลองสาธารณะนายช่าง3 พฤศจิกายน 2552

    คำถาม
    โฉนดติดคลองสาธารณะ

    อยากถามอาจารย์ว่า กรณีในโฉนดที่ดินระบุว่าติดคลองสาธารณะ     แต่ด้านที่ติดลำคลอง ต้องมีหลักหมุดโฉนดปักอยู่แต่ในการปักหลักหมุดจะห่างจากตลิ่งคลอง มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่สภาพคลองแต่ในฤดูน้ำปกติตลิ่งคลองน้ำท่วมไม่ถึงและไม่ได้เป็นที่ชายคลอง อยากทราบว่าจะใช้หลักหมุดเป็นแนวเขต หรือใช้แนวตลิ่งคลองเป็นแนวเขต  ( ในโฉนดระบุติดคลองสาธารณะ )

    * ถ้าใช้หลักหมุดด้านที่ติดคลองเป็นแนวเขต แสดงว่าที่ดินทุกแปลง ที่ในโฉนดระบุว่าติดคลองสาธารณะ ก็ไม่สามารถเกิดที่งอกริมตลิ่งตาม มาตรา 1308 เพราะว่าในการปักหลักหมุดโฉนดด้านที่ติดคลอง จะต้องปักห่างจากตลิ่งคลอง ทุกแปลงเพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะปักหมุดตรงตลิ่งจริงๆ   มากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่สภาพบริเวณคลองบางแห่งมีต้นไม้ที่โค่นไม่ได้ เช่นต้นตะเคียน

    *แต่ถ้าใช้แนวตลิ่งเป็นแนวเขต สามารถมีที่งอกเพิ่มได้ และอาจเกิดน้ำเซาะกลายเป็นของสาธารณะได้ ใช่หรือเปล่าครับ

    คำตอบ
    หลักหมุดที่ดินนั้นเป็นหลักที่เขาทำไว้เพื่อแสดงว่าแนวเขตที่ดินอยู่ที่ใด และมีขอบเขตเพียงใด  จึงต้องถือหลักหมุดเป็นสำคัญ ส่วนที่งอกริมตลิ่งนั้น หากมีขึ้น ก็เป็นที่ดินที่ได้เพิ่มมานอกเหนือจากที่ดินเดิม  ที่ดินที่ถูกน้ำเซาะนั้น ก็ยังเป็นของเจ้าของเดิมอยู่ กฎหมายไทยให้ประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ริมตลิ่ง คือมีแต่ได้ ไม่มีเสีย
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 พฤศจิกายน 2552