ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039623 อยากทราบขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรมbonsai19 มีนาคม 2553

    คำถาม
    อยากทราบขั้นตอนการรับบุตรบุญธรรม

    ผมและภรรยามีอาชีพรับราชการ  อยากทราบขั้นตอนและวิธีการรับบุตรบุญธรรม  ขออนุญาตอธิบายเรื่องราวอย่างนี้ครับ .. ผมและภรรยาตอนนี้ไปรับเด็กทารกมาเลื้ยงอยู่ในความดูแลเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว (รับจาก รพ.) ซึ่งในใบแจ้งเกิดระบุชื่อบิดาเป็นชื่อผม(ซึ่งความเป็นจริงไม่ใช่บิดาเลย)และแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านผมเรียบร้อย  ซึ่งมีผมเป็นบิดา(ผมอายุ 38 ปี)และมีนาง....เป็นมารดา(อายุ 16 ปี ข้อมูลอายุ กันยายน 2252)(ผมกับภรรยาจดทะเบียนสมรสกันแล้ว)  เสร็จแล้วผมก็ไปยื่นเรื่องขอรับบุตรธรรมที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด   เจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องพอได้รับข้อมูลของแม่เด็กว่ามีอายุ 16 ปี  บอกว่ามันจะมีปัญหาตอนที่เสนอคณะกรรมการพิจารณาเรื่องรับบุตรบุญธรรมเนื่องจากว่าอายุแม่เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ซึ่งเท่ากับว่าผมพรากผู้เยาว์ตอนนี้เรื่องที่ผมจะขอรับบุตรบุญธรรมก็ยังกองอยู่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ  เจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องยังแนะนำอีกว่า  1.)ให้เปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนบ้านหรือเปลี่ยนแปลงรายการใบแจ้งเกิดว่าไม่ให้มีชื่อบิดาเป็นชือผม  มันจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องการพรากผู้เยาว์  แต่ก็จะเจอข้อหาเรื่องการแจ้งความเท็จ 2) รอให้แม่เด็กมีอายุบรรลุนิติภาวะก่อน(บรรลุนิติภาวะกี่ปีครับ)ค่อยมายื่นเรื่องขอรับบุตรบุญธรรมใหม่  หรือ  3) ให้ไปตรวจ ดี เอ็น เอ  เพื่อมายืนยันว่าเด็กที่ผมรับมาเลี้ยงไม่ใช่ลูกผมตามที่มีชื่อผมปรากฎเป็นพ่อ   ซึ่งเจตนาเพียงต้องการเด็กหรือลูกมาเลี้ยงเท่านั้นเองไม่เกี่ยวกับพรากผู้เยาว์   ผมรับเด็กมาเลี้ยงตั้งแต่อายุได้ 2 วัน ตอนนี้อายุได้ 6  เดือนแล้วครับ  ผมจะทำอย่างไรดีครับตอนนี้ไม่สบายใจเลยอยากจะให้เรื่องมันจบและดูแลลูกชายอย่างมีความสุข  อยากเรียนถามดังนี้ครับ

    1. ผมกับแม่เด็กมีผลกันทางกฎหมายเป็นพ่อแม่ที่ถูกต้องตามเอกสารใช่ไหม

    2 เนื่องจากภรรยาผมที่จดทะเบียนสมรสกับผมแล้วเนี่ยต้องการสิทธิความเป็นแม่ด้วย  ผมก็เลยอยากจะทำเรื่องขอรับบุตรบุญธรรมให้กับภรรยา มันทำได้ไหมครับและซ้ำซ้อนอะไรหรือเปล่า

    3. การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านไม่ให้มีชื่อผมเป็นบิดาของเด็กทำได้ไหมครับ  ถ้าการแก้ไขรายการทำได้  แล้วโทษสำหรับคนที่แจ้งความเท็จมีโทษเป็นสถานใดหนักเบาขนาดไหนครับ

    4. ถ้าสมมุติยื่นเรื่องใหม่ตอนที่แม่เด็กอายุบรรลุนิติภาวะแล้ว  แล้วเผอิญว่าตามหาแม่เด็กไม่เจอจะทำอย่างไรได้ครับ  และถ้าในทางปฏิบัติต่อไปเป็นเรื่องของศาล  ผมจะมีค่าดำเนินการอะไรไหมครับ

    5. บุตรบุญธรรมสามารถเบิกสวัสดิการของทางราชการได้หรือไม่ครับ

    6.คำถามอาจจะวกวน  เนื่อหาอาจจะไม่สมบูรณ์เนื่องการใช้คำไม่เป็นก็ขอความกรุณาตีความด้วยนะครับหรือถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม  ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับ

     

    คำตอบ

    1. ผลระหว่างคุณกับแม่เด็กยังไม่ได้มีความสัมพันธ์ฉันท์สามีและภริยาและบุตรกันตามกฎหมาย มีผลเป็นเพียงเป็นพยานหลักฐานที่เด็กหรือแม่ของเด็กจะฟ้องให้คุณรับเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายได้ในอนาคต และอาจเป็นพยานหลักฐานในความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารหญิงอายุไม่เกินสิบแปดปี ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี

    2. การรับบุตรบุญธรรมนั้น ทั้งสามีภริยาจะรับร่วมกันทั้งสองคนก็ได้

    3. การแก้ไขน่ะทำได้ แต่ขั้นตอนไม่ใช่ง่าย ๆ เพราะเจ้าพนักงานเขาคงไม่ยอมให้ใครไปแก้ไขได้ง่ายนัก เพราะเขากลัวเขาจะต้องรับผิดเหมือนกัน ส่วนความผิดฐานแจ้งความเท็จนั้น โทษไม่รุนแรงอะไรนัก

    4. ถ้าไม่พบแม่ของเด็ก คุณก็รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ ส่วนค่าใช้จ่ายนั้น นับแต่นี้ต่อไปคงมีไม่หยุดหย่อนหรอก เพราะเริ่มต้นผิดเสียแล้ว

    5. เบิกไม่ได้

         คุณทั้งสองก็เป็นข้าราชการ อาจจะมีความรู้ทางกฎหมายเบื้องต้นอยู่บ้าง แต่ก็ไม่น่าจะมีความรู้เชี่ยวชาญถึงขนาดจะหาช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายได้ การพยายามทำอะไรที่ไม่ตรงไปตรงมา โดยนึกเอาเองว่าจะก่อผลทางกฎหมายหรือทางใจนั้น เป็นอันตรายอย่างรุนแรง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 มีนาคม 2553