ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039454 ต้องการหย่าแต่สามีไม่ยอมหย่า จะหาเหตุใดมาฟ้องหย่าได้ธีราพร5 มีนาคม 2553

    คำถาม
    ต้องการหย่าแต่สามีไม่ยอมหย่า จะหาเหตุใดมาฟ้องหย่าได้

    เรียนปรึกษา อ.มีชัย

                ดิฉันจดทะเบียนสมรสกับสามี เป็นเวลา 7 ปี มีบุตรด้วยกัน 2 คน เป็นผู้หญิงทั้งคู่ ดิฉันต้องการหย่าขาดจากสามี แต่สามีไม่ยินยอมหย่าให้ ดิฉันจะทำอย่างไรได้บ้าง

                ปัญหาที่เคยเกิดขึ้น คือ สามีไปมีผู้หญิงอื่น เคยมีมาตั้งแต่ตอนก่อนแต่งงาน แต่ตอนนั้นสามีบอกว่า เลิกกันแล้ว ขอให้ดิฉันให้อภัยเขา ดิฉันก็ให้อภัย จนกระทั่งดิฉันท้องลูกคนที่สอง (ปี 2548) สามีก็ไปมีคนอื่นอีก ครั้งนี้ดิฉันทนทุกข์อยู่ 2 ปี โดยยังไม่ได้คิดว่าจะหย่ากัน เพียงแต่เริ่มที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยการพึ่งตัวเองให้มากขึ้น มีสังคมและพบปะเพื่อนฝูงมากขึ้น จนกระทั่งในปี 2552 ดิฉันรับราชการ มีภาระหน้าที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น รวมถึงต้องเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อย สามีเริ่มหาเรื่องว่าดิฉันมีคนอื่น และขอเลิกกับดิฉัน ถึง 3 ครั้ง จนสุดท้ายดิฉันตกลงที่จะเลิก โดยให้ลองแยกกันอยู่ แต่เขาก็ไม่ยอม เราทะเลาะกันหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อเดือนกันยายน 2552 สามีได้เก็บเสื้อผ้าออกไปอยู่ที่บ้านพ่อของเขา ประมาณ 1 อาทิตย์ โดยในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ได้มารับลูกๆ ไปอยู่ด้วย

                ในวันที่เขาพาลูกกลับมาส่ง คุณแม่และคุณน้า ของดิฉันได้พูดคุยกับเขา (โดยที่ดิฉันไม่ได้อยู่ด้วย) และมาบอกดิฉันว่าจะให้สามีมาอยู่ที่บ้านใหม่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่บริเวณเดียวกัน ในรั้วเดียวกับบ้านที่ดิฉันอาศัยอยู่ในปัจจุบัน (ที่ดินของบ้านมี 2 แปลง แปลงแรกเป็นที่ดินดั้งเดิมตั้งแต่สมัยคุณตาของดิฉัน 1 แปลง ปลูกบ้าน 1 หลัง (ดิฉันอยู่บ้านนี้กับคุณแม่) แปลงที่สอง (พื้นที่ติดกัน ด้านข้าง) เป็นของคุณแม่ดิฉัน ได้ซื้อเพิ่มเติมไว้ ปัจจุบันปลูกบ้าน 1 หลัง โดยดิฉันเป็นผู้กู้เงินเพื่อขอปลูกสร้างบ้าน (ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2552) ในการขอกู้ดังกล่าว ทางธนาคารและสำนักงานที่ดินต้องให้ดิฉันมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดด้วย คุณแม่มิได้ยกที่ดินดังกล่าวให้ดิฉัน แต่ให้ดิฉันเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินแปลงดังกล่าว ทั้งนี้ บ้านใหม่นี้เป็นชื่อของดิฉันทั้งหมด

                ในการขอกู้เงินกับทางธนาคาร ใช้สิทธิ์ของดิฉันซึ่งเป็นข้าราชการ ส่วนสามีทำงานบริษัทเอกชน เป็นผู้กู้ร่วม โดยเปิดบัญชีกู้ทั้งสิ้น 4 บัญชี เป็นของดิฉัน 3 บัญชี (เต็มวงเงินที่สิทธิ์ของดิฉันพึงกู้ได้ โดยมีชื่อสามีเป็นผู้กู้ร่วม) และของสามี 1 บัญชี (เป็นส่วนที่ขาดไปจากวงเงินที่ต้องการกู้จริง มีชื่อดิฉันเป็นผู้กู้ร่วม ด้วยเช่นกัน) และได้ชำระหนี้โดยการหักบัญชีเงินเดือนของทั้งคู่ ตามวงเงินในบัญชีกู้ของแต่ละคน ซึ่งในช่วงแรกที่ยังมิได้มีปัญหา ค่าผ่อนบ้านที่หักจากบัญชีเงินเดือนของดิฉัน ดิฉันก็จะนำเงินที่สามีให้ไว้สำหรับใช้จ่ายในครอบครัวเป็นเงินกองกลาง (เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูกทั้งสองคนและสามี รวมถึงค่าของอุปโภค บริโภคที่ใช้ร่วมกันในครอบครัว ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายสำหรับตัวดิฉันเองโดยเฉพาะ) มาจ่ายคืนในบัญชีเงินเดือนของดิฉัน (ดิฉันเงินเดือนน้อยกว่าสามี 3 เท่า และเงินที่ผ่อนบ้านคิดเป็น 70% ของเงินเดือนดิฉัน) ทั้งนี้ เป็นการจ่ายคืนเต็มจำนวนที่ผ่อนเพียง 2 งวดแรกเท่านั้น งวดต่อๆ มา ดิฉันก็พยายามที่จะช่วยจ่ายด้วย เดือนละ 1-2 พัน (เนื่องจากภาระในการรับ-ส่งลูกไปโรงเรียน ค่าอาหารไปโรงเรียนของลูก ค่าน้ำมันรถ ค่าทางด่วน ค่ากับข้าวลูก ดิฉันเป็นคนรับภาระทั้งหมด)

                ในช่วงที่มีปัญหากันและสามีย้ายออกไป ดิฉันรับภาระเป็นคนผ่อนบ้านใหม่เองทั้งหมด (ตั้งแต่งวดที่ 6 เป็นต้นมา) รวมถึงค่าใช้จ่ายของลูกๆ ซึ่งเพิ่งย้ายโรงเรียน

                การย้ายเข้ามาอยู่ที่บ้านใหม่ สามีไม่ได้มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย นอกจากค่าน้ำค่าไฟ ส่วนบัญชีเงินกู้ค่าผ่อนบ้านในส่วนของสามี ดิฉันก็ได้ทำการชำระเงินทั้งหมด (ประมาณ 150,000 บาท) ด้วยเงินส่วนตัวของดิฉันเองและปิดบัญชีไปเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่ที่สามีย้ายออกไปและดิฉันคิดว่าไม่ต้องการที่จะกลับไปคืนดีกันอีกแล้ว จึงต้องการตัดปัญหา ทุกอย่างไม่ให้มีอะไรต้องค้างคากันอีกต่อไป

                แต่เมื่อสามีเข้ามาอาศัยที่บ้านใหม่ (ที่ดิฉันเป็นเจ้าของและเป็นผู้ผ่อนชำระแต่เพียงผู้เดียว) โดยมิได้มีภาระรับผิดชอบใดๆ เลย ดิฉันยังคงต้องไปรับ-ส่งลูกไปโรงเรียนเหมือนเดิม รวมทั้งพาลูกไปเรียนพิเศษในวันเสาร์ (ซึ่งค่าเรียนพิเศษดิฉันและคุณแม่ดิฉันเป็นคนจ่าย) ดิฉันจึงเสนอให้มีการแบ่งวันในการดูแลลูก ทั้งรับ-ส่งและดูแลเรื่องอาหารการกิน โดยดิฉันดูแลวันพุธ-วันเสาร์ ส่วนสามีดูแลวันอาทิตย์-อังคาร

    สามีปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยอ้างว่า ไม่สามารถไปส่งลูกที่โรงเรียนได้ เพราะจะไปทำงานสาย ขอเป็นมารับลูกกลับบ้านให้ทุกวันแทน (ลูกจะมีพี่เลี้ยงไปรับมาจากโรงเรียนแล้วมาอยู่ที่บ้านน้าสาวของดิฉัน ซึ่งอยู่ในซอยเดียวกันกับบ้านดิฉัน ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร)) ดิฉันไม่ยอม เพราะดิฉันก็ไปทำงานสายเหมือนกัน ดิฉันเป็นข้าราชการ งานเข้าเวลา 8 โมงครึ่ง ต้องเซ็นชื่อลงเวลาเข้างาน ส่วนสามี งานเข้า 8 โมงครึ่งเหมือนกัน แต่เขาเป็นผู้บริหารระดับต้น ไม่ต้องมีการลงเวลาเข้างาน และที่สำคัญที่ทำงานของสามีอยู่ใกล้บ้าน ใกล้โรงเรียนลูก ใกล้ทางด่วนมากกว่าดิฉัน สุดท้ายเขาไปขอให้น้าสาวดิฉันช่วยให้พี่เลี้ยงมารับ-ส่งลูกแทนเขา

    ต่อมาคุณแม่ดิฉันไปคุยกับเขายังไงไม่ทราบ เขาก็มารับ-ส่งลูก แต่เพียงวันอังคารวันเดียว วันจันทร์ยังคงให้พี่เลี้ยงไปรับ-ส่ง โดยอ้างว่าวันจันทร์รถติด ทำให้เขาไปทำงานไม่ทัน ดิฉันคิดว่าเขาไม่มีความรับผิดชอบในความเป็นพ่อเลย เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมาดิฉันไปรับ-ส่งลูกทุกวัน ไม่เคยบ่น วันจันทร์ดิฉันก็ยังไปทำงานทัน ถ้าจะสายก็ไม่เกิน 15 นาที ที่สำคัญดิฉันเคยเจอเขาบนทางด่วน (ในวันที่ดิฉันรับหน้าที่ไปส่งลูกไปโรงเรียน) มีผู้หญิงนั่งมาในรถกับเขาด้วย ได้ไปลองเลียบเคียงเล่าให้คุณแม่ฟัง คุณแม่บอกว่า เขาไปรับลูกน้องที่ทำงานที่เดียวกับเขา เพราะบ้านอยู่แถวนี้ (แต่แถวนี้ที่คุณแม่พูดถึงมันไม่ใช่ทางที่จะผ่านไปรับ แต่ต้องอ้อมไป และรถติดยิ่งกว่าทางที่จะไปส่งลูกที่โรงเรียนด้วยซ้ำ) และเขามาเล่าให้คุณแม่ดิฉันฟังในช่วงที่เริ่มทะเลาะกันแรกๆ ที่เขาคิดว่าดิฉันมีคนอื่น โดยให้เหตุผลกับคุณแม่ว่า ต้องบอกก่อนที่จะมีใครมาเห็นเขา แล้วเข้าใจเขาผิด เรื่องนี้ ดิฉันรับรู้โดยปราศจากความรู้สึกหึงหวงใดๆ มีแต่ความรู้สึกว่า เขาไม่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่พ่อของลูกเลย เห็นแก่ตัวและเอาเปรียบมากๆ

    เรื่องราวทั้งหมดนี้ คุณแม่และคุณน้าของดิฉัน เชื่อเขาหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนแรก จะไม่ยอมให้ดิฉันหย่าด้วย เพราะเชื่อตามที่สามีพูดว่าดิฉันมีคนใหม่ ต่อมามีเหตุการณ์ที่ช่วยให้คุณแม่ดิฉันตาสว่าง เห็นแล้วว่าสามีไม่มีความรับผิดชอบจริงๆ โดยเฉพาะการดูแลลูก (ลูกสาวคนโต ติดพ่อมาก ไปนอนกับพ่อที่บ้านใหม่ทุกคืน) และไม่คิดที่จะขอให้ดิฉันกลับไปคืนดีกันอีกแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คุณแม่ดิฉันเป็นห่วงหลาน เพราะสามีจะเอาลูกคนโตมาอ้างอยู่ตลอดเวลาว่า ถ้าหย่ากันเขาจะเอาลูกคนโตไปด้วย คุณแม่ไม่อยากให้หลานต้องไปลำบาก (พ่อแม่สามีแยกกันอยู่ แม่อาศัยอยู่ห้องเช่า พ่ออยู่ตึกแถว) และที่สำคัญสามีไม่มีทางดูแลรับผิดชอบลูกได้แน่ๆ

    ล่าสุด สามียอมที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านให้ เดือนละ 10,000 บาท โดยมีชื่อคุณแม่ดิฉันเป็นผู้ให้เช่า (แต่ทั้งนี้ เงินดังกล่าวดิฉันปันเป็นค่าใช้จ่ายในบ้านคุณแม่ให้แก่คุณแม่ เดือนละ 5,000 บาท และให้เป็นค่าใช้จ่ายกับคุณยาย เดือนละ 2,000 บาท เหลือสำหรับตัวดิฉันเอง 3,000 บาท และเคยรับปากกับคุณแม่ดิฉันเมื่อตอนปลายปีที่แล้วว่า ปีใหม่ (คือปีนี้) จะหย่าให้ดิฉัน แต่แล้วก่อนสิ้นปี 2552 เขาได้ฝากเอกสารการโอนรถยนต์ (ที่เขาใช้เป็นประจำ แต่เป็นชื่อดิฉัน) ให้ดิฉันเซ็นโอนให้เขา ดิฉันก็โง่ คิดว่าเขาคงจะยอมหย่าให้แล้วจึงเซ็นโอนรถให้ไป แต่ปรากฏว่าภายหลังไปเจรจาเขาไม่ยอมหย่าให้ ดิฉันจึงบอกให้เซ็นสละสิทธิ์สินสมรส (โดยเฉพาะเรื่องบ้าน) เขาก็ไม่ยอมเซ็น

    ดิฉันจะทำอย่างไรได้บ้าง

    1. จะฟ้องหย่าได้หรือไม่ เหตุในการฟ้องหย่าคืออะไร

    2. การแยกกันอยู่ในลักษณะนี้ ถือเป็นเหตุฟ้องหย่าได้หรือไม่ และต้องแยกกันอยู่นานกี่ปี จึงจะถือว่าหย่าได้

    3. เหตุที่ว่าไม่ส่งเสียเลี้ยงดู จะนำมาเป็นเหตุในการฟ้องหย่าได้หรือไม่ แต่จริงๆ แล้ว ดิฉันไม่ได้ต้องการค่าเลี้ยงดู ดิฉันเพียงต้องการจะหย่าขาดจากกันเท่านั้น

    ดิฉันควรจะทำอย่างไรดีคะ รบกวนอาจารย์มีชัย ช่วยชี้ทางให้ด้วยค่ะ

    คำตอบ

    1. การที่เขาเคยมีหญิงใหม่นั้น เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ แต่เมื่อคุณไม่ได้ฟ้องหย่าในครั้งนั้น ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะฟ้องหย่าไปแล้ว แต่ก็นำมาผสมผสานกับเหตุการณ์ปัจจุบันได้ (ถ้าเขายังไปมีใหม่อีก)

    2. ถ้าแยกกันอยู่โดยสมัครใจถึงสามปี ก็เป็นเหตุฟ้องหย่าได้

    3. การไม่ส่งค่าเลี้ยงดูต้องดูประกอบกับฐานะของแต่ละฝ่าย  ดูคำถามที่ 39436 ประกอบด้วย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 มีนาคม 2553