ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038670 ทรัพย์สินก่อนหย่านัท10 มกราคม 2553

    คำถาม
    ทรัพย์สินก่อนหย่า

    เรียนอาจารย์มีชัย

    ขอถามดังนี้ครับ  ผมเพิ่งจดทะเบียนหย่ากับภรรยา  โดยระหว่างที่ยังอยุ่ด้วยกันก่อนหน้านี้ ผมได้ซื้อบ้าน และมีภรรยาเซ็นยินยอม (แบบนี้ถือว่าเค้ามีส่วนเป็นเจ้าของด้วยหรือเปล่าครับ ผมผ่อนเอง แต่เค้าจ่ายดาวน์บางส่วน)   แต่ตอนหย่า ได้เขียนสัญญาไว้ว่าบ้านเป็นของผม เพราะผมเป็นคนผ่อนทั้งหมด  แต่ส่วนที่เค้าเคยจ่าย จะคืนให้เมื่อโอนบ้านแล้ว

    กรณีนี้ ทางภรรยา จะหากฎหมายข้ออื่น ตามมาขอแบ่งกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังนี้ได้หรือไม่ในภายหลัง  หรือว่ายังไงก็ต้องยึดถือตามสัญญาตอนหย่าครับ

    ผมต้องไปแจ้งกับทางโครงการที่ซื้อบ้านหรือเปล่า ว่าผมหย่าแล้ว  ต้องเปลี่ยนแปลงเอกสารหรือไม่  ถ้าไม่แจ้ง จะมีผลดีหรือเสียอย่างไรครับ

    แล้วเค้าจะสามารถฟ้องเอาเงินคืนก่อนที่จะได้โอนบ้านไหม 

    ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณนัท

       การที่ภรรยาลงชื่อให้ความยินยอมไม่ได้ทำให้ภรรยามีสิทธิในทรัพย์สินที่ซื้อ  แต่การที่ซื้อทรัพย์สินในระหว่างสมรส (ไม่ว่าเขาจะลงชื่อยินยอมหรือไม่) ทำให้ทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรส และเขามีสิทธิในทรัพย์สินนั้นครึ่งหนึ่ง  แต่เมื่อในตอนที่หย่ากัน ได้ตกลงเรื่องสินสมรสแล้ว ก็ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันนั้น  ส่วนการเปลี่ยนแปลงเอกสารนั้น เมื่อคุณเป็นคนซื้อมาแต่แรกโดยภรรยาไม่ได้ร่วมมีชื่อในการซื้อหรือการกู้เงินด้วย ก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเปลี่ยน 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 มกราคม 2553