ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038189 ฟ้องหย่า และขอเป็นผู้ปกครองบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะกรรณิกา29 พฤศจิกายน 2552

    คำถาม
    ฟ้องหย่า และขอเป็นผู้ปกครองบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

    เรียน คุณมีชัย

                 ดิฉันมีปัญหาเรื่องการหย่าร้างกับสามี ดิฉันมีอาชีพรับราชการ ได้แต่งงานกับสามีเมื่อปี 2544 มีบุตรด้วยกัน 2 คน สามีก็มีอาชีพรับราชการ ได้แยกกันอยู่ ตั้งแต่ต้นปี 2550 และได้ยื่นคำร้องขอย้ายกลับภูมิลำเนา ทั้งสองฝ่ายตกลงใจที่ไม่อาจจะอยู่รวมกันได้ ทรัพย์สินก็แบ่งกันลงตัว มีรถยนต์ 1 คันและบ้านหนึ่งหลัง ทั้งสองอย่างอยู่ระหว่างผ่อนส่ง  สำหรับรถยนต์อยู่กับดินฉัน บ้านอยู่กับสามี แต่ที่ตกลงกันไม่ได้คื้อ บุตรทั้งสองคน  บุตรสาวนั้นเค้าไม่ต้องการ และเค้าต้องการเฉพาะบุตรชาย หากดิฉันยกลูกให้อยู่ในความดูแลของฝ่ายชาย เค้าตกลงจะหย่าให้  แต่ดิฉันส่งสารลูกจึงไม่อาจทำใจได้ จึงขอเรียนปรึกษาท่าน ดังนี้

    1.  การฟ้องหย่า ซึ่งทั้งสองตกลงจะหย่าขาดกัน จะต้องเป็นไปตามมาตรา 1516  (6) คือแยกกันอยู่ 3 ปี ใช่หรือไม่  ใช้เหตุที่ทั้งสองฝ่ายตกลงใจจะหย่าได้หรือไม่

    2.  บุตรทั้งสองคน นับตั้งแต่ แยกกันอยู่ เค้าไม่เคยอุปการะเลี้ยงดู ไม่ส่งเสียเงินในค่าเล่าเรียน ทั้งสองอยู่ในความรับผิดชอบของดิฉัน ดิฉันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่างของบุตร  

    3.  ดิฉันไม่ต้องการเรียกร้องค่าเลี้ยงดู แต่ต้องการฟ้องหย่าขาดจากเค้าและอุปการะเลี้ยงดูบุตรเท่านั้น เพื่อจะใช้สิทธิในการเบิกค่าเล่าเรียนและค่ารักษาพยาบาล ไม่สะดวกที่จะส่งเบิกกับฝ่ายชายเนื่องจากอยู่คนละจังหวัด

    4.  ใช้เหตุผลใดจึงจะชนะในการฟ้อง  (นิสัย ส่วนตัวของฝ่ายชาย คือ ดื่มสุราเป็นประจำ)  เนื่องจากในเจรจาขอหย่า เค้าใช้เหตุผลคือ เอาลูกให้เค้าหนึ่งคน เค้าจะหย่าให้  เป็นสิ่งที่เค้าใช้ต่อรองและบีดคั้นดิฉันทุกครั้งในการเจรจา

    5.  ดิฉันควรจะฟ้องหย่าหรือไม่ หากแพ้ลูกจะต้องไปอยู่กับฝ่ายชาย เหตุผลในการฟ้องหย่าของดิฉันเข้าตามมาตรา 1516 หรือไม่

    6.  หากเค้าไปกู้เงินธนาคาร  สร้างหนี้สินอะไรเพิ่มเติม ระหว่างจดทะเบียนสมรส(ในช่วงแยกทางกัน) หนี้สินนั้น จะต้องอยู่ในความรับผิดชอบของดิฉัน กับบุตร ซึ่งเป็นทายาทตามกฎหมายหากเค้าเสียชีวิตใช่หรือไม่

    ดิฉันควรทำอย่างไรดี อยากได้คำแนะนำและคำปรึกษาไม่รู้ทำอย่างไรดี  ขอรบกวนท่านด้วยนะค่ะ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

                                                      กรรณิกา  อุ่นแฝง

    คำตอบ

    เรียน คุณกรรณิกา

    1. การหย่านั้นมีได้ ๒ ทาง คือ การฟ้องหย่า ซึ่งต้องมีเหตุตามที่กฎหมายกำหนด อีกทางหนึ่งคือ ตกลงกันไปหย่า ซึ่งไม่ต้องมีเหตุอะไรถ้าตกลงกันก็ไปหย่าได้ จูงมือกันไปที่อำเภอแล้วจดทะเบียนหย่าได้เลย

    2. ถ้ามีการฟ้องหย่า คุณก็อาศัยเหตุที่เขาไม่เคยอุปการะเลี้ยงดูเป็นเหตุผลที่ขอให้ศาลสั่งให้คุณเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองลูกทั้งสองคนได้  แต่ถ้าหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็ต้องตกลงเรื่องลูกให้ได้

    3-5 คุณก็รู้ถึงเหตุตามมาตรา 1516 แล้ว คงต้องตอบเองว่ามีเหตุดังกล่าวหรือไม่ เพราะให้คนอื่นตอบคงตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่ามีเรื่องอะไรกันบ้าง

    6. ถ้าเป็นหนี้ที่นำมาใช้จ่ายในครอบครัว คุณก็อาจต้องร่วมรับผิดด้วย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 พฤศจิกายน 2552