ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038097 มรดก-บิดาบุญธรรมTT23 พฤศจิกายน 2552

    คำถาม
    มรดก-บิดาบุญธรรม

    เรียนปรึกษาค่ะ

    1. บิตาเลี้ยงที่จดทะเบียนสมรสกับแม่ของหนูถือเป็นบิดาบุญธรรมโดยทันทีหรือไม่คะ หากแม่ของหนูและบิดาเลี้ยงเสียชีวิตทั้งคู่ ทรัพย์สินในส่วนของบิดาเลี้ยงต้องทำอย่างไร หนูมีสิทธิ์จัดการหรือไม่ และต้องทำอย่างไร

    2. การทำพินัยกรรมหนูสามารถแบ่งทรัพย์สินให้กับคนที่ไม่ได้มีสายเลือดเดียวกันเช่น คนที่มีบุญคุณ หรือ เพื่อน ได้หรือไม่

    3. หนูได้ทำประกันชีวิตไว้แล้วต้องการระบุผู้รับผลประโยชน์ส่วนหนึ่งให้บิดาเลี้ยงและแฟน แต่พนักงานขายประกันบอกว่ายกให้กับผู้ที่มีสายเลือดเกี่ยวข้องกับเราหรือคู่สมรสตามกฎหมายได้เท่านั้น จึงไม่สามารถยกให้แฟนได้ แต่ของบิดาเลี้ยงทำได้ หนูเลยสับสนว่าไม่รู้จะทำอย่างไร จึงอยากรบกวนปรึกษาค่ะ

    คำตอบ

    1. การจดทะเบียนสมรสกับแม่ ไม่ได้ทำให้พ่อเลี้ยงกลายเป็นบิดาบุญธรรมไปด้วย  ถ้าพ่อเลี้ยงตายก่อนมารดาคุณทรัพย์ส่วนที่เป็นสินสมรสก็จะเป็นของมารดาคุณครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เหลือจะตกเป็นมรดกได้แก่มารดาคุณกับลูกหรือพ่อแม่ของเขาคนละเท่า ๆ กัน ส่วนคุณไม่มีสิทธิ  แต่ถ้ามารดาคุณตายก่อนพ่อเลี้ยง ทรัพย์ของพ่อเลี้ยงก็ตกได้แก่ทายาทของเขา คุณก็ไม่มีสิทธิเหมือนกัน

    2. การทำพินัยกรรมจะยกทรัพย์ให้ใครก็ได้ แต่การทำพินัยกรรมนั้นทำได้เฉพาะทรัพย์ที่เป็นของตัว จะไปเที่ยวได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ของคนอื่นให้ใครต่อใครไม่ได้

    3. ลองเปลี่ยนบริษัทประกันดู


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 พฤศจิกายน 2552