ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038039 ฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตรหญิงซี518 พฤศจิกายน 2552

    คำถาม
    ฟ้องค่าเลี้ยงดูบุตร

    ดิฉันหย่ากับสามีตั้งแต่ปี48ค่ะโดยระบุในใบหย่าว่าสามีจะจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรเดือนละ3000บาททุกเดือน จนกว่าลูกจะอายุ20ปี หลังจากหย่าแล้วสามีจ่ายให้ดิฉันเพียง8เดือน  หลังจากนั้นก็ไม่จ่าย อ้างว่าเงินเดือนแค่10000บาทเค้าไม่พอใช้ ดิฉันก็ไม่ได้ทวงอีกเลยเพราะทวงจนเหนื่อยจนกระทั่งปัจจุบันนี้เค้าก็ยังไม่จ่ายให้ ดิฉันขอถามว่า

    1.ถ้าดิฉันจะฟ้องค่าเลี้ยงดูย้อนหลังตั้งแต่เดือนที่9-ปัจจุบันได้ไหมคะ หรือฟ้องย้อนหลังไม่ได้ มีอายุความไหมคะเพราะตอนนี้เงินเดือนดิฉันไม่พอใช้เลย

    2.ถ้าเค้าไม่ยอมจ่ายจะฟ้องศาลให้หักเงินเดือนเค้าได้ไหมคะ (ดิฉันและเค้าเป็นข้าราชการทั้งคู่) หรือดิฉันจะยึดทรัพย์สินเค้าแทนได้ไหม

    3.บุตรดิฉันมีสิทธิได้รับเงิน กบข.หรือมรดกของเค้าไหมคะ เพราะดิฉันได้ยินพี่สาวเค้าบอกว่าเค้าทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้ลูกคนใหม่คนเดียว (เค้าจดทะเบียนสมรสกับคนใหม่ไปแล้ว)

    ขอบพระคุณนะคะ จะรอคำตอบค่ะ

    คำตอบ

    1. ฟ้องย้อนหลังได้ เพราะมีอายุความ 5 ปี ส่วนที่ค้างเกิน 5 ปีก็ฟ้องไม่ได้

    2. เมื่อคุณชนะคดีแล้วคุณก็สามารถยึดทรัพย์สินเขาขายทอดตลาดได้

    3. ถ้าเขาทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้คนอื่นไปแล้ว ลูกคุณก็คงไม่มีสิทธิอะไร  แต่ถ้าเขาไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ลูกคุณก็มีสิทธิ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 พฤศจิกายน 2552