ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037833 แล้วมีทางออกทางไหนบ้างค่ะวชิรา6 พฤศจิกายน 2552

    คำถาม
    แล้วมีทางออกทางไหนบ้างค่ะ

    เรียนอาจารย์

    ถ้าเราเปลี่ยนผู้กู้ร่วมได้ไหมค่ะ เพราะว่าสามีเค้าไม่ได้ช่วยส่งเสียเลยเค้าไม่ได้อยู่แล้วแต่ถ้าเราส่งต่อไปถ้าหย่ามันก็จะเป็นสินสมรสต้องหารครึ่ง เราก็แย่สิค่ะ แล้วกรรมสิทธิ์บ้านก็จะตกเป็นของเค้าใช่ไหมค่ะ แต่ว่าเราเป็นคนกู้หลัก ใครจะได้กรรมสิทธิ์ในบ้านค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยหาทางออกให้หน่อยได้ไหมค่ะ กรณีเช่นนี้ค่ะ หนูจะไปฟ้องหย่าก็กลัวจะยุ่งยากใหญ่โตไปกันใหญ่ค่ะ พอมีแนวทางที่จะแก้ไขไหมค่ะ

    คำตอบ

    เรียน คุณวชิรา

        การกู้ยืมเงินนั้นเป็นสัญญาสองฝ่าย เมื่อไปทำสัญญากับเขาแล้ว การจะเปลี่ยนแปลงสัญญา ก็ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้กู้เขาตกลงด้วย  แต่ปกติไม่มีผู้ให้กู้คนไหนเขายอมให้ถอนผู้กู้ร่วมออกหรอก  เพราะการที่เขากำหนดให้ต้องมีผู้กู้ร่วมก็แสดงว่าฐานะทางรายได้ของคุณเพียงคนเดียวเขาเห็นแล้วว่าไม่เพียงพอที่จะผ่อนชำระได้ เขาจึงต้องหาคนที่มีรายได้อีกคนหนึ่งมากู้ร่วม นอกจากนั้นในระหว่างสมรสนั้นแม้คุณจะเป็นคนผ่อนส่งอยู่คนเดียว ทรัพย์สินที่ได้มานั้นก็เป็นสินสมรสอยู่ดีไม่ว่าจะมีชื่อเขาอยู่ด้วยหรือไม่  แต่ในการหย่ากันนั้นคู่สมรสอาจตกลงแบ่งทรัพย์สินกันอย่างไรก็ได้ เช่น ฝ่ายชายยกสินสมรสชิ้นใดชิ้นหนึ่งให้ฝ่ายหญิงแต่ผู้เดียว ก็ทำได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 พฤศจิกายน 2552