ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037265 สงสัยค่ะชอบอ่าน25 กันยายน 2552

    คำถาม
    สงสัยค่ะ

    ชอบเข้ามาอ่านกฎหมายครอบครัวค่ะ  เห็นหัวข้อเก่าๆ ที่อาจารย์ได้ตอบเกี่ยวกับการรับรองบุตรที่ว่า "แต่ถ้าพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกันหรือไปจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร เด็กนั้นก็เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชาย ไม่ว่าเขาจะไปมีใครใหม่อีกกี่คน เด็กนั้นก็ยังมีฐานะเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของเขาอยู่นั่นเอง  เพียงแต่ว่าเมื่อเขาเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว อำนาจปกครองบุตรก็จะอยู่ที่เขา "

    จากข้อความที่ highlight  แสดงว่าเมื่อหย่ากันแล้ว ลูกจะต้องอยู่กับผู้ชายหรือเปล่าคะ   แล้วสมมตว่าผู้หญิงต้องการให้ลูกอยู่กับตัวเอง  จะไม่ให้อำนาจปกครองบุตรอยู่ที่ผู้ชาย  ต้องทำอย่างไรในวันแจ้งเกิดของลูกคะ

    เช่น กรณีที่ ชาย หญิง ที่มีลูกกันโดยไม่ได้ตั้งใจ และก็อาจจะถูกผู้ใหญ่บังคับให้แต่งงาน จดทะเบียนด้วย  แต่ทั้งสองแอบตกลงกันว่า คลอดแล้วจะหย่ากัน   และฝ่ายหญิงอยากมีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว  จะต้องเซ็นรับรองบุตรอย่างไร  ไม่ให้สามีมีอำนาจปกครองบุตรโดยชอบตามกฎหมายคะ

    ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ

    คำตอบ
    ตามหลักที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น โดยปกติอำนาจปกครองบุตรจะอยู่ที่บิดามารดาทั้งสองคน แต่ก็มีกรณีข้อยกเว้นที่อำนาจอาจอยู่ที่บิดาหรือมารดาคนเดียวได้  เช่น บิดาหรือมารดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน หรือศาลสั่ง หรือบิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้ (เท่าที่นึกออกในขณะนี้ ก็เช่นในกรณีที่มีการหย่ากันก็ตกลงกันได้)
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 กันยายน 2552