ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    035910 สัญญาข้อตกลงระหว่างสมรสประภัสสร3 กรกฎาคม 2552

    คำถาม
    สัญญาข้อตกลงระหว่างสมรส

    เรียน ท่านมีชัย

    ดิฉันอยู่กินด้วยกันกับสามีต่างชาติมาก่อน 2ปี  แล้วเพิ่งแต่งงานจดทะเบียนสมรสตามกฏหมายที่กรุงเทพเมื่อปีที่แล้ว  ตอนนี้กำลังดำเนินเรื่องซื้อบ้านและที่ดิน  แต่ตามกฏหมายไทยห้ามต่างชาติครอบครองที่ดิน  สามีต่างด้าวของดิฉันอาจจะต้องซื้อบ้านและที่ดินในชื่อดิฉัน  แต่ด้วยข้อกฏหมายของหญิงไทยที่สมรสกับต่างด้าว เมื่อซื้อบ้านและที่ดิน ก็ต้องให้สามีต่างด้าวเซ็นต์ว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินนั้นเป็นสินส่วนตัวของภรรยา   ซึ่งตรงนี้  สามีดิฉันเกรงว่ามันจะมีปัญหาในอนาคตได้ ถ้าชีวิตสมรสของเราจบลงที่การหย่าร้างและเขากลัวว่าเขาจะไม่มีสิทธิ์ในที่บ้านและที่ดิน/หรือได้สิทธิ์ในบ้านและที่ดินน้อยเกินกว่าที่เขาควรจะได้

    ดิฉันเข้าใจสามีในเรื่องนี้ดี  เพราะเขาเป็นผู้ออกเงินซื้อบ้านและที่ดินทั้งหมด ส่วนดิฉันหลังแต่งงานแล้วก็เป็นแม่บ้านอย่างเดียว

    ดินฉันอยากทราบว่า  

    1. ถ้าซื้อบ้านและที่ดินในชื่อดิฉัน  แล้วดิฉันทำสัญญาข้อตกลงในเรื่องบ้านและที่ดินว่า "ถ้าดิฉันและสามีหย่าร้างกันดิฉันจะรับส่วนแบ่ง (เช่น 20%, 30% เป็นต้น) ของมูลค่าบ้านและที่ดินนั้น  และที่เหลือทั้งหมดขอยกให้สามี"  ทำสัญญาแบบนี้จะได้หรือปล่าวคะ  (แต่ดิฉันจะทำเป็นพินัยกรรมไว้ด้วยว่า ถ้าดิฉันตายบ้านและที่ดินนั้นจะยกให้สามีเพียงผู้เดียว)

    2. สัญญาที่ดิฉันกล่าวถึงในข้อ 1  มีผลบังคับใช้ได้ตามกฏหมายได้หรือไม่คะ  

     

    ส่วนคำถามข่างล่างนี้  สามีต่างด้าวของดิฉันฝากถามท่านค่ะ (ท่านจะกรุณาตอบก็ได้หรือไม่ก็ได้ค่ะ  เผื่อว่าอาจจะเป็นกรณีศึกษาให้คนต่อๆไป ที่อาจจะตั้งคำถามที่คล้ายๆ กันกับคำถามสามีดิฉัน)

    คำถามว่า....ถ้าดิฉันและเขาหย่ากันไม่ว่ามาจากสาเหตุใดก็ตาม  แล้วดิฉันขอแบ่งทรัพย์สิน ครึ่งหนึ่ง ของบ้านและที่ดิน  แต่สามีไม่ยอม สามีจะให้แค่ 20% เท่านั้นแหล่ะ  แล้วดิฉันก็โลภมากอยากได้ครึ่งหนึ่งเพราะคิดว่าบ้านและที่ดินซื้อมาหลังสมรส ก็ต้องเป็นสินสมรส   เมื่อเป็นสินสมรสและเกิดหย่ากันในภายหลังก็ต้องแบ่งครึ่งกันสิ............แล้วอย่างนี้  ถ้าสามีดิฉันจะอ้างและพิสูจน์ได้ว่า เงินที่นำมาซื้อบ้านและที่ดินเป็นเงินของเขาที่มีมาก่อนที่จะมาสมรสกับดิฉันต่างหากล่ะ    ดังนั้นบ้านและที่ดินนี้ก็ต้องเป็นสินส่วนตัวไม่ใช่สินสมรสสักหน่อย  แล้วสามีดิฉันก็ไม่แบ่งอะไรให้ดิฉันเลย   สามีดิฉันทำอย่างนี้ได้หรือปล่าวคะ

    อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอนน่ะค่ะ  เมื่อสามีภรรยามีทรัพย์สินและเกิดหย่าร้างในภายหลัง  ดิฉันก็แค่อยากให้เกิดความเป็นธรรมทั้ง 2ฝ่าย  ควรได้ในสิ่งที่เราควรได้    และไม่ควรอยากได้ในสิ่งที่เราไม่ควรจะได้

    ขอบพระคุณมากค่ะ

     

     

     

     

    คำตอบ

    เรียน คุณประภัสสร

    1.-2. ในส่วนที่เกี่ยวกับพินัยกรรมนั้นทำได้และมีผล  แต่สัญญาที่จะทำกันในเรื่องแบ่งทรัพย์สินนั้น เป็นสัญญาในระหว่างสมรส คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจบอกเลิกเสียเมื่อไรก็ได้ หรือเมื่อขาดจากการสมรสแล้วก็ยังบอกเลิกเสียได้ภายในหนึ่งปี  การทำสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีความหมายอะไรสำหรับคุ้มครองผู้เป็นสามี  ทางหนึ่งที่อาจคุ้มครองได้ก็คือ เมื่อซื้อเป็นชื่อคุณแล้วก็จดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้สามีไว้ ซึ่งแปลว่าแม้ที่ดินจะเป็นของคุณ แต่ก็จะอยู่ภายใต้การจัดการของสามี เขามีสิทธิที่จะอยู่อาศัย หรือในกรณีให้เช่า ก็มีสิทธิได้ค่าเช่า เมื่อเขาตายไปแล้วทรัพย์สินนั้นก็เป็นของคุณโดยสมบูรณ์

        สำหรับคำถามของสามีนั้น การพิสูจน์เช่นนั้นก็เท่ากับพิสูจน์ว่าทั้งสองคนจงใจแจ้งความเท็จ เพราะตอนซื้อที่ดินอ้างว่าเป็นสินส่วนตัวของคุณ ทรัพย์สินนั้นจึงไม่ใช่สินสมรส แต่เป็นสินส่วนตัว ซึ่งเมื่อจะหย่าขาดจากกัน ทรัพย์สินนั้นก็เป็นของคุณคนเดียว


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 กรกฎาคม 2552