ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    035085 จดทะเบียนต่างประเทศ และสินส่วนตัวเก๋17 พฤษภาคม 2552

    คำถาม
    จดทะเบียนต่างประเทศ และสินส่วนตัว

    สวัสดีค่ะ อาจารย์

    คือเก๋กำลังจะแต่งงานกับแฟน ที่ต่างประเทศก่อนกับรัฐบาลประเทศนั้นๆ แล้วปีหน้าก็จะกลับไทย ไปจดทะเบียนที่ประเทศไทยอีกที

    มีคำถามดังนี้ค่ะ

    1 การจดทะเบียนต่างประเทศ แล้วมาจดทะเบียนที่ประเทศไทย จะมีผลอะไรรึเปล่าค่ะ ทรัพย์สินที่อยู่ประเทศไทย จะยึดตามทะเบียนสมรสที่ไหนค่ะ

    ส่วนเรื่องสินส่วนตัว คือ เก๋มีบ้านให้เช่าที่เป็นชื่อของเก๋ แต่จริงๆแล้ว เจ้าของจริงๆคือคุณพ่อคุณแม่

    จากที่อ่านกระทู้อื่นๆ เข้าใจว่า บ้านหลังนี้ก็จะเป็นสินส่วนตัว แต่ค่าเช่าที่ได้หลังจากจดะเบียนจะเป็นสินสมรส และจะต้องแบ่งค่าเช่าที่ได้ให้สามี ถ้ามีการหย่าร้าง

    คำถาม

    1 เนื่องจากจริงๆเจ้าของคือคุณพ่อคุณแม่ จะมีทางไหน ทำให้ค่าเช่าที่ได้หลังจากจดทะเบียนเป็นสินส่วนตัว (คือไว้คืนให้คุณแม่) ไม่ให้เป็นสินสมรส

    2 ถ้าเกิดเก๋เสียชีวิต บ้านเช่าหลังนี้ ก็จะตกเป็นมรดก ซึ่งแฟนจะมีส่วนได้ครึ่งหนึ่ง นอกจากการทำพินัยกรรม มีทางไหนอีกรึเปล่าค่ะ ที่จะทำให้บ้านหลังนี้ไม่ต้องถูกแบ่งไปให้สามี เพราะเป็นของคุณพ่อคุณแม่ ก็อยากให้ท่านเป็นผู้ตัดสินมากกว่าว่าจะยกให้ใครค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    คำตอบ

    เรียน คุณเก๋

    1. ไม่มีทาง เพราะดอกผลของสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส

    2. ทางเดียวที่ทำได้ก็คือทำพินัยกรรม หรือมิฉะนั้นก็โอนคืนให้แก่บิดามารดาไป


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 พฤษภาคม 2552