ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    035008 สัญญาหย่าโท12 พฤษภาคม 2552

    คำถาม
    สัญญาหย่า

    เรียนท่านมีชัย

            ผมมีคำถามจะเรียนปรึกษาท่านมีชัยดังนี้ครับ

      ผมได้ทำสัญญาหย่ากับภรรยา โดยในสัญญาผมได้ระบุว่า จะให้ค่าเลี้ยงดูภรรยาเป็นเงินจำนวนหนึ่ง  โดยจะผ่อนจ่าย จนกว่าจะครบตามจำนวน เมื่อภรรยาได้เงินครบแล้ว ภรรยาสัญญาไว้ว่าจะไปเซนต์ใบหย่าให้

       ผมไม่แน่ใจว่า หากผมได้จ่ายเงินค่าเลี้ยงดูครบถ้วนแล้ว แต่ภรรยาผมไม่ไปหย่าให้ตามข้อตกลง ผมจะเอาสัญญาไปฟ้องให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่าได้หรือไม่  ที่ไม่แน่ใจเพราะว่า ในสัญญาผมได้เขียนข้อนึงมีใจความว่า ภรรยายินยอมให้ผมไปจัดงานแต่งกับแฟนใหม่ของผม (โดยยังไม่ได้จะทะเบียนหย่ากับภรรยาผมครับ)  ผมเกรงว่า ข้อสัญญาข้อนี้จะทำให้สัญญาเป็นโมฆะหากมันไปขัดกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน 

    รบกวนช่วยชี้แนะด้วยครับ ว่าผมสามารถนำสัญญาลักษณะนี้ไปฟ้องต่อศาลให้พิพากษาให้หย่าได้หรือไม่ หากชำระเงินครบถ้วนแต่ภรรยาไม่หย่าให้ตามที่ตกลง

    ขอบคุณมากครับ

     

     

     

     

     

     

    คำตอบ
    ตามกฎหมายนั้นกำหนดว่า การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน  และจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและ-ภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว  ดังนั้น ถ้าเขายินยอมหย่าแล้ว หากไม่ไปจดทะเบียนหย่า คุณก็ฟ้องได้ แต่เงื่อนไขที่ยินยอมให้ไปแต่งงานกับหญิงอื่นก่อนได้นั้น ไม่มีผลอะไร เพราะถึงอย่างไรคุณก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นสามีของหญิงคนใหม่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 พฤษภาคม 2552