ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034821 การหย่าโดยความยินยอมภรรยา26 เมษายน 2552

    คำถาม
    การหย่าโดยความยินยอม

    เรียน ท่านมีชัย

    ดิฉันและสามี เป็นคนไทยทั้งคู่ จดทะเบียนสมรสที่สหรัฐอเมริกา

    และได้นำทะเบียนสมรสมาจดทะเบียนฐานะครอบครัว (คร.22) ที่ไทยแล้ว

    ดิฉันมีคำถามดังนี้ค่ะ

    1. การทำหนังสือหย่าโดยความยินยอม หากทำเรียบร้อยแล้ว ยังจะต้องไปทำการจดทะเบียนหย่าอีกหรือไม่คะ การหย่าถึงจะมีผลเป็นสมบูรณ์ (ที่ไม่มั่นใจว่าต้องทำการจดทะเบียนหย่าหรือไม่ก็เนื่องจาก เราไม่ได้จดทะเบียนสมรสที่ไทยน่ะคะ)

    2. จากข้อ 1 นะคะ ถ้าหากว่า ต้องไปทำการจดทะเบียนหย่า การหย่าถึงจะมีผลสมบูรณ์ จำเป็นที่จะต้องไปจดทะเบียนหย่าพร้อมกันทั้งสองคนหรือไม่คะ   ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นำหนังสือสัญญาหย่าโดยความยินยอมไปยื่นที่นายทะเบียน จะเพียงพอต่อการออกทะเบียนหย่าหรือไม่

    3.  มีเหตุอะไรบ้างคะ ที่จะทำให้หนังสือหย่าโดยความยินยอมเป็นโมฆะ

    ขอบพระคุณท่านมีชัยเป็นอย่างสูงที่สละเวลาค่ะ

     

     

    คำตอบ

    เรียน ภรรยา

    1. ที่เรียกว่าการหย่าโดยความยินยอมนั้น หมายความเพียงว่า เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะหย่ากันก็หย่ากันได้ โดยไม่ต้องมีเหตุต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด  แต่การหย่านั้นจะเกิดผลก็ต่อเมื่อไปจดทะเบียนการหย่า ไม่ใช่เพียงทำหนังสือยินยอมหย่า

    2. การหย่าเป็นเรื่องที่ต้องทำเองเฉพาะตัว ทำหนังสือยินยอมไว้ล่วงหน้าไม่ได้  ทั้งสองคนต้องไปที่อำเภอ

    3. หนังสือหย่าโดยความยินยอมน่ะไม่มีผลเป็นการหย่าอยู่แล้ว


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 เมษายน 2552