ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    025864 เงินประจำตำแหน่ง พนักงานสอบสวน ( ตร.)พนักงานสอบสวน17 มกราคม 2551

    คำถาม
    เงินประจำตำแหน่ง พนักงานสอบสวน ( ตร.)
    อาจารย์ครับ กระผมเป็นคนหนึ่ง ที่เรียนจบการศึกษาด้านกฎหมาย ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยของรัฐบาลแห่งหนึ่ง โดยรับราชการตำรวจ เป็นพนักงานสอบสวน ขอเรียนว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๔๘ มีพนักงานสอบสวน สอบถามเรื่องเงินประจำตำแหน่งกับอาจารย์ เนื่องจาก พ.ร.บ.ตำรวจ ได้ออกมามีใจความว่า ให้พนักงานสอบสวน ได้รับเงินประจำตำแหน่งเทียบเคียง/เทียบเท่ากับกระบวนการยุติธรรมอื่น ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าเป็นหน่วยงานไหน ปัจจุบัน พนักงานสอบสวน ของ ตร.ได้รับเงินประจำตำแหน่ง สบ ๑ ได้ ๓,๕๐๐ บาท  สบ.๒ ได้ ๔,๐๐๐ บาท สบ.๓ ได้ ๔,๗๐๐ บาท ซึ่งการทำงานกระผมอยากจะเรียนให้ท่านอาจารย์ ทราบว่า ทุกๆ เรื่องที่จะต้องสัมผัสกับ ชาวบ้านที่ได้รับความเดือนร้อน ในทุกๆ เรื่องจะมาพบตำรวจ ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่กันทำ สุดท้าย ๙๕ เปอร์เซนต์ จะต้องมาลงที่พนักงานสอบสวน นับจาก ผู้เสียหาย ( ผู้กล่าวหา ) จะมาเล่าถึงความเดือนร้อนอย่างแสนสาหัส ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับ ผุ้ใดเลย มาทำกับ ผู้เสียหาย ได้ พนักงานสอบสวน เรียบเรียงคำพูด ทำเป็นหนังสือ ๑ ชั่วโมง ไม่แล้วเสร็จแน่ ขึ้นอยู่กับความสลับซับซ้อนของคดี เมื่อรับคดีแล้ว ติดตามพยานมาสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง โดยก่อนมาถึงพนักงานสอบสวน พยาน จะให้การเป็นฉากๆ เห็นอย่างนั้น เห็นอย่างนี้ คนร้าย แย่มาก ผู้เสียหาย เห็นว่ารู้ว่าเห็น ก็ให้การถึงว่ารู้ว่าเห็น พนักงานสอบสวน ได้เรียกให้มาเป็นพยาน ได้รับคำตอบจากพยานว่า ต้องมาให้การด้วยหรือ ไม่เป็นได้ไหม ไม่อยากมีเรื่อง(เป็นเสียอย่างนี้เสียแทบทุกคน) จากนั้นก็ให้การคนละเรื่องกับเล่าให้ฟังในตอนแรก (เป็นงง) เมื่อเรียบเรียงคำพูดเป็นหนังสือแล้ว ก็เรียก ผู้ถูกกล่าวหา มาพบ บางรายเรียกไม่มา ก็ต้องขอหมายจับ บางรายมาพบ ก็บอกว่า ไม่ได้ทำ เค้าทำผมก่อน (ในเคดีทำร้าย) ส่วนคดีลักทรัพย์ ผมไม่เคยรู้เรื่อง ฯลฯ ก็สอบปากคำไป จากนั้นถ้าเป็นคดีที่ต้องรอผลตรวจพิสูจน์จากหน่วยงานอื่น หรือหน่วยงานเดียวกัน ก็ต้องรอเป็นเวลาหลายวัน (ซึ่งขณะเดียวกัน ก็มีผู้เสียหาย ในคดีอื่น ก็มาร้องทุกข์อีกเช่นกัน)ระหว่างนั้น ผู้บังคับบัญชา ตรวจสำนวน ซึ่งก็มีบ้างที่ให้สอบเพิ่มเติมตามที่น่าจะเป็น หรือที่อยากให้เป็น  เมื่อผลการตรวจพิสูจน์มาแล้ว ก็รวบรวมพยานหลักฐานสรุปสำนวนการสอบสวน ว่ามีความผิดฐานใด หรือไม่ แล้วมีความเห็นทางคดีสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้อง แล้วเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น มีความเห็นทางคดี เมื่อตรวจแล้ว มีขาดตกบกพร่อง นายก็ให้กลับมาแก้ เมื่อแก้เสร็จก็เสนอใหม่ ถ้าผ่าน ก็เรียกตัว ผู้ต้องหา มาพร้อมกับส่งสำนวน ไปยังพนักงานอัยการฯ เมื่อพนักงานอัยการฯ รับแล้ว ตรวจสำนวน ต่อมาบางสำนวน ก็ให้สอบสวนเพิ่มเติม แล้วจัดส่งไปให้ เมื่อพนักงานอัยการสั่งฟ้อง ต่อไปก็ชั้นศาล ถ้าผู้ต้องหา รับสารภาพ กรณีมีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำตั้งแต่ ๕ ปี ขึ้นไปพนักงานสอบสวน จะต้องสืบประกอบ กรณีถ้า ผู้ต้องหา ปฏิเสธ ก็ต้องไปเป็นพยานศาล เมื่อไปแล้ว บางครั้งไม่ได้ขึ้น ก็ต้องไปไหม่ เสียค่ารถฟรี บางครั้งไปแล้ว ผู้ต้องหา รับสารภาพ ก็ฟรีเช่นกัน แต่ถ้าขึ้นศาล ก็ได้ ๒๐๐ บาท ถ้าจังหวัดเดียวกัน แต่ถ้า คนละจังหวัดได้ ๕๐๐ บาท เป็นจบกระบวนการใน ๑ คดี ขออนุญาตกราบเรียนท่านอาจารย์ ครับยังมีอีกหลายๆๆๆๆๆ เรื่องที่ไม่สามารถบรรยายด้วยการพิมพ์สอบถามอาจารย์ ยังไม่รวมกรณี พยานหลักฐาน ไม่พอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ต้องหา ได้กระทำผิด จึงไม่ได้เรียกตัว ผู้ต้องหา มาแจ้งข้อกล่าวหา โดยได้สรุปสำนวน การสอบสวน มีความเห็นทางคดีเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ไปยังพนักงานอัยการฯ จากนั้นพนักงานอัยการฯ ได้ตอบกลับมาว่า การสอบสวน ยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากยังไม่ได้สอบผู้ต้องหา ซึ่งตามกฎหมาย มีใจความว่า การจะแจ้งข้อกล่าวหา แก่บุคคลใด จะต้องมีพยานหลักฐาน ตามสมควร จึงไม่ได้เรียกตัวมาแจ้งข้อกล่าวหา แต่ผลสุดท้าย พนักงานสอบสวน ก็ต้องเสี่ยง เรียกตัว ผู้ต้องหา มาแจ้งข้อกล่าวหา ก็ต้องอธิบายให้ ผู้ต้องหา เข้าใจเนื่องจากปัจจุบันนี้ ประชาชน มีความรู้เรื่องกฎหมายกันมากขึ้น และมีพวกฟ้องที่รู้กฎหมาย ให้คำแนะนำตลอด แต่ก็ต้องแจ้งข้อหา เนื่องจากสำนวนอยู่ในมือนาน ก็จะถูก ผู้บังคับบัญชาเล่นงานอีก ข้อหาล่าช้า อาจารย์ครับยังมีอีกนาๆ ปัญหา ครับท่าน ขอสรุปเลยครับ กรณีอาจารย์ตอบว่า งบประมาณไม่มีนั้น ฟังแล้วไม่สบายใจเลย ขอเรียนว่า พนักงานสอบสวนทั่วประเทศมีประมาณ ๘,๐๐๐ คนเท่านั้นนะครับ ไม่ได้มากมาย หรือรวมทั้งตำรวจทุกสาย ที่มีรวมกันเป็นแสน กระผมขอให้ข้อมูลเรื่องนี้แก่อาจารย์นะครับ ถ้าอาจารย์ มีเวลาว่างช่วยวิเคราะห์ ถ้าเห็นความต่างระหว่างกระบวนการยุติธรรมด้วยกัน แล้ว และเห็นว่าพนักงานสอบสวน ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว ขอความเมตราจากอาจารย์ ได้โปรดทำบุญ ให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานสอบสวน ของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วยครับ เนื่องจากไม่รู้ว่าจะไปขอความเป็นธรรมกับ ผู้ใด ขอรับ ท้ายที่สุดนี้ขอให้อาจารย์ และครอบครัว มีสุขภาพกาย ใจ ที่สมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดปี พ.ศ.๒๕๕๑ และตลอดไป สาธุ
    คำตอบ
    กฎหมายนั้นมุ่งหมายให้พนักงานสอบสวนได้รับค่าตอบแทนใกล้เคียงกับบุคลากรด้านขบวนการยุติธรรมอื่น ๆ แต่ดูเหมือนผู้ใหญ่ในกรมตำรวจเป็นห่วงตำรวจหนวยอื่น ๆ ว่าจะไม่ทัดเทียมกัน ก็เลยพยายามจะขอให้ได้เท่า ๆ กัน ก็เลยยังไม่ได้มากเท่าที่ควรมาจนทุกวันนี้ คนต้องรอจนกว่าผู้ใหญ่ในตำรวจมองเห็นความสำคัญและเร่งด่วนของเรื่องนี้ หรือมิฉะนั้นก็รอต่อไปไม่นานก็คงมีคนคิดอ่านโอนงานสอบสวนไปอยู่ต่างหากจากกรมตำรวจ  อย่างที่ทำเป็นบางส่วนในกรมสอบสวนคดีพิเศษ  ขนาดตอนปรับปรุงกฎหมายตำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ พยายามจะให้ตำรวจผู้น้อยได้รับเงินเดือนสูงขึ้น และมีขั้นตอนที่จะเป็นตำรวจสัญญาบัตรสั้นลง ผู้ใหญ่ในกรมจำนวนไม่น้อยยังไม่ยอม แล้วเลยดึงเรื่องจนกฎหมายนั้นตกไป
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 มกราคม 2551