ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    023262 ปปช.pache28 สิงหาคม 2550

    คำถาม
    ปปช.

    เรียนอาจารย์ ที่เคารพ ดิฉันมีข้อสงสัยขอเรียนถาม

    กรณีโดยคดี ปปช.ชี้มูลความผิดอาญา ม.148 ม.157 ม.83 และถูกลงโทษทางวินัยร้ายแรง ไล่ออกจากราชการ

    ทางอาญา

    อัยการสูงสุดส่งเรื่องให้อัยการจังหวัด มีคำฟ้อง ส่งฟ้องศาลจังหวัด ปรากฎผลว่า ศาลมีคำพิพากษา ยกฟ้อง สรุปสาระว่าพยานโจทก์มีพิรุทมากมายประกอบกับข้อพิจารณาและความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะอนุกรรมการไต่สวนก็มิได้อธิบายถึงเหตุผลถึงความเห็นดังกล่าว เพียงแต่เชื่อตามคำให้การของผู้กล่าวหาและพยานบุคคลเท่านั้น โดยไม่ฟังพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสี่ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ย่อมส่งผลเสียหายแก่จำเลยทั้งสี่ จึงไม่อาจนำคำวินิจฉัยของสำนักคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะอนุกรรมการไต่สวนมาประกอบการพิจารณาคดีนี้ได้ อีกทั้งการที่สำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีคำสั่งหลังจากเกิดเหตุคดีนี้ถึง 4 ปี ทั้งที่เหตุคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2543 และพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจ ส่งสำนวนนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2543 ย่อมทำให้จำเลยทั้งสี่เสียหายเพราะไม่ได้รับความยุติธรรมโดยเร็ว

    -ทางอัยการขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 30 วัน ถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2550

    ทางวินัย

    -ได้ถูกคำสั่งไล่ออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2548 เป็นต้นไป อุทธรณ์คำสั่งแล้วปรากฎผลให้ยกอุทธรณ์ จึงนำเรื่องฟ้องศาลปกครองเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2548 คำขอให้1. เพิกถอนมติ ปปช. 2.เพิกถอนมติ กทจ. 3. เพิกถอนคำสั่งไล่ออกและคืนสิทธิประโยชน์

    คำถามข้อสงสัย

    1. การอุทธรณ์หน่วยงานใดเป็นผู้อุทธรณ์ รับทราบมาว่าอัยการส่งเรื่องให้ ปปช.พิจารณาว่าจะอุทธรณ์หรือไม่  หรือว่าเป็นอำนาจของอัยการสูงสุดในการยื่นอุทธรณ์ (คำฟ้องอัยการจังหวัดเป็นโจกท์) คำพิพากษาตัดสินเมื่อ 29 มิ.ย.50 อัยการขอขยายถึง 29 ส.ค.50 สามารถจะขอขยายเพิ่มอีกได้หรือไม่

    2. กรณีศาลปกครอง ดำเนินงานล่าช้ามาก สามารถร้องขอความเป็นธรรมไปหน่วยงานใดได้บ้าง เพราะได้ส่งคำแก้คำคัดค้านครบตามกระบวนการแล้ว และส่งคำพิพากษาให้ศาล เมื่อวันที่ 20 ก.ค.50 จนปัจจุบันยังไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาประการใด ได้ประสานผู้เกี่ยวข้องแล้ว กล่าวอ้างว่ามีคดีรอการพิจารณามากกว่า 400 กว่าคดี แจ้งให้รอ (รอมานานมากกว่า 2 ปีแล้ว)

    3. กรณีศาลปกครองยังไม่ตัดสิน หากวันที่ 29 ส.ค.50 ไม่มีการยื่นอุทธรณ์ จะนำคำพิพากษาดังกล่าว ขอกลับเข้ารับราชการได้หรือไม่ ได้เคยนำปรึกษาจังหวัดแล้วได้รับทราบว่าไม่ได้เพราะมติของ ปปช.ยังไม่ถูกเพิกถอน ต้องรอศาลปกครองตัดสินก่อน (กรณีนี้ถ้าหากผู้เสียหายไม่ได้ยื่นคำฟ้องศาลปกครองจะทำอย่างไร)

    -ดิฉันมิได้กระทำความผิดและได้ชี้แจงความจริงทุกประการต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่สอบสวน ผลพิจารณาของคณะกรรมการสอบสวนทุกคณะก็มีความเห็นและสรุปว่าดิฉันมิได้กระทำความผิดมาโดยตลอด แต่ ปปช.มีมติว่าดิฉันมีความผิด ปัจจุบันศาลได้พิพากษาแล้วว่าดิฉันมิได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหา ได้ถูกดำเนินการในเรื่องนี้มานานกว่า 7 ปี 9 วัน คำตอบที่ได้รับคือให้รอคอย อย่างไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด ความเจ็บปวดและความทุกข์ใจของตนเองและมารดา ยากที่จะบรรยายได้ ขอกราบเรียนอาจารย์ช่วยเหลือชี้แนะแนวทางออกให้หน่อย และมีวิธีใดที่จะทำให้ดิฉันกลับเข้ารับราชการได้โดยเร็ว เหตุเกิดเมื่อ 21 สิงหาคม 2543

    คำตอบ

    เรียน Pache

    1. อัยการก็ต้องเป็นคนอุทธรณ์ แต่ปกติอัยการจะถามเจ้าของเรื่อง คือ ปปช.ก่อนว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ ถ้ายังไม่ได้รับคำตอบจาก ปปช. อัยการก็อาจขอขยายระยะเวลาออกไปได้ ส่วนใหญ่ศาลจะให้ เพราะเห็นเป็นหน่วยราชการด้วยกัน

    2. คงต้องอดทนรออีกหน่อย

    3. คงใช้ไม่ได้ เพราะในการพิจารณาคดีอาญา ศาลจะพิจารณาโดยยึดหลักที่สันนิษฐานว่าจำเลยสุจริตจนกว่าจะมีการพิสูจน์ให้สิ้นสงสัยว่าจำเลย ถ้าในการพิสูจน์นั้น มีข้อสงสัย ศาลจะต้องยกประโยชน์ให้จำเลย  ผลของคดีอาญาจึงนำมาใช้กับการดำเนินการทางวินัยไม่ได้

       ในเวลาที่เกิดเคราะห์กรรมนั้น ก็ต้องพยายามทำใจรับรู้ถึงเคราะห์นั้น ยิ่งไปกระวนกระวายมากก็จะยิ่งเป็นทุกข์มาก ในเวลาที่เคราะห์หมด ทุกอย่างก็จะแจ่มใสขึ้นเอง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 สิงหาคม 2550