ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    022280 ความแตกต่างระหว่างโทษทางวินัยและโทษทางอาญาคุณภานุพัฒน์22 มิถุนายน 2550

    คำถาม
    ความแตกต่างระหว่างโทษทางวินัยและโทษทางอาญา

    เรียน  ท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

                 กระผมอยากขอความอนุเคราะห์จากท่านได้ช่วยชี้แนะให้ความรู้แก่ผมเป็นวิทยาทานในเรื่องดังที่ผมจะได้นำเรียนต่อไปนี้ครับ  คือ

             ผมเป็นข้าราชการและทำงานด้านวินัยและนิติการ  มีความเห็นขัดแย้งในใจตนเองมาตลอดว่า   การลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการตามกฏหมายทางวินัยที่บังคับใช้แต่ละกลุ่มข้าราชการนั้นไม่เป็นธรรม   ที่ว่าไม่เป็นธรรมนั้นในมุมมองของกระผมเห็นว่า   แม้ว่าการลงโทษทางวินัยและการลงโทษทางอาญาจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน   สภาพการบังคับที่แตกต่างกัน  แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ   ผู้ที่ถูกลงโทษถูกพรากไปเสียซึ่งสิทธิอันจะพึงคาดหมาย    ผู้ที่ถูกลงโทษทางวินัยก็สิ้นสิทธิ์หรือเสียไปซึ่งสิทธิที่จะได้รับควาวก้าวหน้าในวิถีทางราชการ  และผู้ที่ถูกลงโทษทางอาญาก็สิ้นสิทธิเสรีภาพหลายประการ   แต่ความแตกต่างอันเป็นที่มาของคำถามของกระผมก็คือ   ในทางอาญาผู้กระทำผิดเมื่อเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ความบริสุทธิ์หรือมีผิดจนศาลพิพากษาลงโทษแก่ผู้กระทำ ๆ หาได้รับโทษนั้นในทันทีไม่  ตาม รธน. ยังรับรองไว้ว่าตราบใดที่ศาลยังไม่ได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วให้ถือว่าผู้กระทำยังไม่มีความผิด  กล่าวคือ ผู้กระทำยังมีสิทธิ์ที่จะต่อสู้ต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุดแล้วจึงจะถูกลงโทษ

            แต่ในทางกลับกันในทางวินัย  หากผู้กระทำถูกคณะบุคคลคือบุคคลที่มีหน้าที่ในการสอบสวนดำเนินการทางวินัยวินิจฉัยชี้ขาดว่า  ผู้กระทำนั้นเป็นผู้กระทำผิด   และผู้บังคับมีคำสั่งลงโทษตามสถานโทษที่ลงแก่ผู้กระทำแล้ว  โทษนั้นจะมีสภาพบังคับในทันที  ผู้กระทำไม่มีสิทธิ์ที่จะขอทุเลาการบังคับไปจนกว่าจะถึงที่สุดได้

                  กรณีเช่นนี้ผมเห็นว่า   การลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการไม่มีความเป็นธรรมเลย   อย่างน้อยที่สุดในกรณีที่ถูกลงโทษว่ากระทำผิดวินัยกรณีร้ายแรงถูกให้ปลดออกหรือถูกไล่ออก  น่าจะให้โอกาสผู้กระทำมีโอกาสต่อสู้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเองจนถึงชั้นที่สุดโดยในระหว่างที่ต่อสู้นั้นควรให้ได้รับการทุเลาการบังคับไปก่อน

                ผมประสงค์จะศึกษาในเรื่องนี้   อาจารย์พอจะมีหลักทฤษฏีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่พอจะแนะนำให้ผมไปศึกษาได้ที่ไหนบ้างครับท่านอาจารย์ครับ  ผมหวังว่าคงจะได้รับคำชี้แนะจากท่านอาจารย์ด้วยดี  ผมขอกราบขอบพระคุณมา  ณ  โอกาสนี้ด้วยครับ  ขอบพระคุณมากครับ

    คำตอบ

    เรียน ภานุพัฒน์

    ลองคิดดูง่าย ๆ ว่า ถ้ามีคนทำงานบ้านคุณ เอาทรัพย์สินของคุณไป คุณสอบสวนแล้วได้ความว่าเป็นความจริง คุณจะยังให้ทำงานอยู่ในบ้านคุณต่อไปจนกว่าเขาจะไปร้องเรียนใครต่อใครเรียบร้อยแล้ว หรือจะให้ออกจากบ้านคุณทันทีที่คุณสอบสวนได้ความจริง  ส่วนในคดีอาญานั้น เมื่อเขาเอาทรัพย์ของคุณไป คุณก็ไปแจ้งความ ส่วนตำรวจและศาลจะดำเนินคดีถึงที่สุดเมื่อไร คุณเองก็คงไม่ค่อยติดใจนัก พอดีพอร้ายด้วยความเมตตาอาจภาวนาให้เขาหลุดพ้นจากการติดคุกก็ได้ 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 มิถุนายน 2550