ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015533 บันทึกข้อตกลง 3 ฝ่ายนิติกรกระทรวง1 ธันวาคม 2548

    คำถาม
    บันทึกข้อตกลง 3 ฝ่าย

    อาจารย์ครับผมขอเรียนถามวิธีการร่างบันทึกข้อตกลงหลายฝ่าย เช่น 3 ฝ่าย โดยมี ฝ่ายราชการ ฝ่ายผู้ประกอบการ และ ธ.ก.ส. ในการให้ความช่วยเหลือเงินกู้กับเกษตรกร ซึ่งทั้งสามฝ่ายจะต้องมาทำความตกลงกัน โดย มีข้อเท็จจริงดังนี้ คือ ฝ่ายผู้ประกอบการเป็นผู้ออกเช็คให้กับเกษตรกร แล้วเกษตรกรนำเช็คไปขายลดเช็คกับ ธ.ก.ส. ส่วนฝ่ายราชการจะเป็นผู้ใช้อำนาจตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวบังคับกับฝ่ายโรงงาน หากเช็คเรียกเก็บแล้วไม่ได้เงินตามเช็คดังกล่าว ผมจึงเรียนถามอาจารย์ดังนี้ครับ

    1.วิธีการร่างบันทึกข้อตกลงจะต่างกับสัญญาหรือไม่ อย่างใด

    2.การกำหนดความรับผิดของบุคคลที่มาทำข้อตกลงควรจะกำหนดไว้หรือไม่ เช่น หากเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ ฝ่ายราชการจะยึดทรัพย์สินของโรงงานในบันทึกข้อตกลง (ข้อบังคับดังกล่าวตามกฎหมายของหน่วยงานราชการไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้) ซึ่งข้อตกลงเช่นนี้จะกำหนดไว้ได้หรือไม่

     และขอขอบคุณอาจารย์อย่างสูงสำหรับคำตอบมาล่วงหน้าด้วยครับ และหากอาจารย์มีข้อชี้แนะ ผมน้อมรับฟังด้วยความเคารพอย่างยิ่ง เพื่อเป็นหลักหรือแนวทางในการร่างบันทึกดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ต่อราชการต่อไปครับ

    คำตอบ

          บันทึกข้อตกลงจะกี่ฝ่าย ก็เหมือนกับสัญญานั่นแหละ จะมีกี่ฝ่ายก็ได้ สุดแต่ว่าเกี่ยวข้องกับใครบ้าง  ส่วนเงื่อนไขในสัญญานั้นก็ต้องเป็นเรื่องของข้อตกลงระหว่างกัน หรือข้อกำหนดที่ทางราชการกำหนดขึ้น  อะไรที่ไม่มีอำนาจกระทำได้ก็อย่าไปเขียนเข้า เช่นกำหนดให้ทางราชการไปยึดทรัพย์สิน ซึ่งถึงจะเขียนไว้ก็ไม่มีอำนาจไปกระทำได้ ถึงอย่างไรก็ต้องไปฟ้องร้องยังศาลอยู่นั่นเอง

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 ธันวาคม 2548