ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014811 ขอคำปรึกษาปรเมศ2 กันยายน 2548

    คำถาม
    ขอคำปรึกษา

    เรียน  ท่านมีชัย ฤชุพันธ์

             ด้วยกระผมปฏิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่งานด้านกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง  เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2548   ทางหน่วยงานได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องคดีแพ่งจากศาลจังหวัด  โดยราษฎรฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน   และให้หน่วยงานของกระผมคืนที่ดินให้  โดยในคำฟ้อง อ้างว่า  ราษฎรได้เคยตกลงทำสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินกับหน่วยงานของกระผม (แต่สัญญาแลกเปลี่ยนหาย มีเพียงพยานรู้เห็นเท่าน้น) และทางราษฎรได้จดทะเบียนโอนที่ดินให้โดยเสน่หา(ประมาณ 8 ไร่)ให้กับหน่วยงานของกระผมก่อน และจดทะเบียนถูกต้อง  แต่ทางหน่วยงานไม่สามารถโอนที่ดินให้กับราษฎรได้ เนื่องจากขัดต่อกฎหมายที่ห้ามโอน อันเป็นที่สาธารณะ แต่ก็ให้ราษฎรเข้าทำกินในที่ดินสาธารณะดังกล่าวตลอดเป็นเวลากว่า 14 ปี  และต่อมาทางที่ราชพัสดุได้ออกไปสำรวจรังวัดที่ดิน พบว่า ที่ที่ราษฎรเข้าทำกินนั้นเป็นที่ราชพัสดุ จึงขับไล่ราษฎรออกจากที่ดินดังกล่าว ทำให้เขาได้รับความเดือดร้อนมาก  จึงนำเรื่องดังกล่าวมาฟ้องต่อศาล เพื่อขอคืนที่ดินแปลงที่ได้จดทะเบียนให้หน่วยงานของกระผมไปก่อนหน้านี้ โดยอ้างความเป็นโมฆะของสัญญาแลกเปลี่ยน  เมื่อข้าพเจ้าได้รับเรื่องก็ได้สืบความเป็นมาของเรื่องดังกล่าว ข้อเท็จจริงที่มี  ทั้งพยานบุคคล พยานเอกสาร ทั้งที่ประชุมกรรมาธิการสภาผู้แทน ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ส่วนราชการต่าง ๆ ประกอบกับความเห็นของอัยการจังหวัด  มีความเห็นไปแนวเดียวกันว่า เพื่อความเป็นธรรมให้หน่วยงานของกระผมคืนที่ดินให้กับราษฎร โดยเฉพาะอัยการจังหวัด อ้างว่าสัญญาดังกล่าวเป็นโมฆะ ให้หน่วยงานของข้าพเจ้าคืนที่ดินให้กับราษฎรในฐานะลาภมิควรได้ โดยแนะนำให้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยตรง  ส่วนในด้านหน่วยงานของกระผม หัวหน้าหน่วยงานไม่ติดใจที่จะคืนให้กับราษฎร โดยในเรื่องดังกล่าวกระผมได้ทำบันทึกเสนอให้มีการยื่นคำให้การและส่งเรื่องไปยังอัยการจังหวัดเพื่อแก้ต่างคดีให้  แต่หัวหน้าหน่วยงานไม่ให้สู้ และส่งด้วยวาจาให้บันทึกเรื่องขึ้นมาใหม่ โดยอ้างว่าเพื่อความเป็นธรรมให้คืนที่ดินให้กับราษฎรโดยเร็ว ผมจึงขอเรียนถามในกรณีดังต่อไปนี้

    ข้อ 1.  โมฆะกรรม ของสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดินที่ทำขึ้นระหว่างหน่วยงานของกระผมกับราษฎรนั้น  ถ้ายังไม่มีคำพิพากษาของศาล  หรือคำสั่งของศาล  มีเพียงความเห็นของอัยการจังหวัด อีกทั้ง หน่วยงานก็ยอมรับว่า เป็นโมฆะจริง   เรียนถามว่า ถ้าหากทางหน่วยงานของข้าพเจ้าได้โอนที่ดินคืนให้กับราษฎร ซึ่งมีเพียงความเห็นของทางอัยการจังหวัดที่มีความเห็นว่าเป็นโมฆะ ให้คืนตาม ปพพ. มาตรา 406 และมาตรา 173 วรรคสอง  และ172  แต่ยังไม่มีคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาล  การที่ได้คืนที่ดินไป ถือว่า หน่วยงานได้ดำเนินการขัดต่อระเบียบ กฎหมาย หรือไม่ (เพราะ เอกสารหลักฐานปรากฎว่าเป็นชื่อ และกรรมสิทธ์ของหน่วยงานของกระผม ซึ่งถ้าหากเป็นกรรมสิทธิ์ จะคืนที่ไม่ได้ ขัดต่อระเบียบพัสดุฯ  แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่ง ว่าสัญญาเป็นโมฆะก็ย่อมไม่ใช่กรรมสิทธิ์)   

    ข้อ 2. ถ้าหากระยะเวลายื่นคำให้การได้สิ้นสุดแล้ว โดยทางหน่วยงานไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้ไว้ เนื่องจากไม่มีประเด็นที่จะต่อสู้ เพราะต้องการที่จะคืน รู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบ ยอมรับในคำฟ้องทั้งหมด  หากศาลได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่ง ให้ทางหน่วยงานจะมีความผิด ในกรณีที่ไม่ได้ยื่นคำให้การ หรือไม่

    ข้อ 3. คดีดังกล่าวจะนำมาตกลงทำสัญญาประนีประนอมกันได้หรือไม่   ในขณะนี้ยังไม่ถึงวันนัดชี้สองสถาน หรือสืบพยานโจทก์  ทางหน่วยงานต้องปฏิบัติอย่างไร    และในอนาคตถ้ามีการสืบพยานไปฝ่ายโจทก์เพียงฝ่ายเดียวจริง      ทางหน่วยงานจะทำอย่างไรกับวิธีการดำเนินการทางศาล

             จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและไขข้อสงสัยให้กระผมด้วย

                                                                ขอขอพระคุณท่านเป็นอย่างสูง

                                                                 จากคนไม่รู้จริง

                                                     

     

     

    คำตอบ

    เรียน คุณปรเมศ

           1. หน้าที่หลักของราชการไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือท้องถิ่น คือ การดูแลราษฎรให้อยู่อย่างมีความสุข  หากการกระทำของทางราชการเป็นเหตุให้ราษฎรเดือดร้อน หรือเป็นการเอาเปรียบราษฎร ทางราชการก็ต้องไปแก้ไขหรือบำบัดความเอาเปรียบนั้นให้หมดไป  เมื่อทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาเห็นว่า ที่ดินนั้นได้มาเพราะทางราชการสัญญาว่าจะแลกเปลี่ยนที่ดินให้เขา เมื่อปรากฏว่าทางราชการไม่สามารถยกที่ดินที่จะแลกให้เขาได้ ทางราชการก็ต้องคืนที่ดินของเขาให้เขาไป เป็นการชอบแล้ว

           2. การที่หน่วยงานปล่อยปละละเลยไม่ไปยื่นคำให้การภายในเวลาที่กำหนด หากเกิดความเสียหายขึ้น คนที่เกี่ยวข้องย่อมต้องรับผิดชอบ  เพราะจะรับหรือปฏิเสธก็ต้องไปยื่นคำให้การ

           3. ถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ ก็อาจขออนุญาตศาลเพื่อขยายเวลาและยื่นคำให้การได้ หรือขอให้มีการพิจารณาใหม่ได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 กันยายน 2548