ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013276 การรักษาราชการแทนนิวัฒน์2 มีนาคม 2548

    คำถาม
    การรักษาราชการแทน

    ผมมีปัญหาสงสัยว่า  การรักษาราชการแทนโดยหลักกำหนดไว้ให้มีได้ในกรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งหรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้

    อยากทราบว่า  กรณีที่มีแต่ไม่อาจปฏิบัติได้  มีความหมายกว้างมากน้อยเพียงใด  และถ้ากรณีผู้ที่ดำรงตำแหน่งนั้นลาออกหรือถูกย้าย 

    และถ้าเป็นกรณีการย้ายดังกล่าวต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลในหลวงเพื่อโปรดเกล้าฯ ให้พ้นจากตำแหน่ง  ระหว่างที่ยังไม่มีพระบรมราชโองการฯ  จะถือว่าเป็นกรณี "มีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการ" ได้หรือไม่

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ

     

        ความหมายของความที่ว่า "มีผู้ดำรงตำแหน่งแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้"  ก็มีความหมายธรรมดา ๆ  คือเมื่อใดที่เขาไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ เพราะไม่อยู่ เจ็บไข้ได้ป่วย เดินทางไปต่างประเทศ หรือถูกสั่งพักราชการ ถูกย้าย ลาออก เป็นต้น

        ถ้าเป็นตำแหน่งที่ต้องมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้ง ตราบใดที่ยังไม่มีพระบรมราชโองการฯ และตัวเขายังอยู่ เขาก็ย่อมปฏิบัติหน้าที่ได้ เว้นแต่จะถูกสั่งให้เดินทางไปช่วยราชการในตำแหน่งใหม่เสียก่อน

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 มีนาคม 2548