ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012949 เงินค่าเหนื่อยของลูกๆของท่านประธานฯมีชัย (ขรก.รัฐสภา)ลูกน้อย..คนหนึ่ง26 มกราคม 2548

    คำถาม
    เงินค่าเหนื่อยของลูกๆของท่านประธานฯมีชัย (ขรก.รัฐสภา)

     

    กราบเรียน คุณพ่อที่เคารพยิ่ง อยากกราบเรียนถามประเด็นความคิดเห็นเล็กน้อยเกี่ยวกับเงินค่าเหนื่อยหรือเงินเพิ่มของข้าราชการรัฐสภาชั้นผู้น้อย ว่า มีท่าทีจะได้หรือไม่ นั่นคือประเด็นคำถาม แต่อยากเท้าความไปยังเหตุการณ์ในอดีตที่คุณพ่อได้เคยให้ความหวังกับพวกเราว่า "เห็นใจข้าราชการสภา" และ "จะช่วยในทุกทางที่กระทำได้...เพื่อให้มีการพัฒนา มีความทัดเทียม และมีความสมบูรณ์เช่นเดียวกับขรก.อื่นๆ " กระนั้น ยังไม่พอ คุณพ่อยังคิดโครงการ แผน หรือแนวทางไว้สำหรับพัฒนาบุคลากรขรก.สภาไว้มากมาย ด้วยเห็นว่า ขรก.สภานี่แหล่ะที่จะเป็นหูเป็นตาต่างประชาชน คอยสอดส่องดูแลความประพฤติมิชอบมาพากลของข้าราชการการเมือง,นักการเมือง และคอยช่วยนักการเมือง,ข้าราชการการเมืองที่มีเป้าประสงค์ที่ดีต่อบ้านเมือง หากสิ้นไร้ขรก.สภาแล้ว ที่พึ่งของประชาชนจะอยู่หนแห่งแหล่งใด ท่านพ่อที่เคารพครับ หลายประการที่ท่านฯ ทำไว้กับสภา ขรก.สภาทุกคนจดจำ และซึ้งใจ รักเคารพ และน้อมนำมาปฏิบัติด้วยดี และรักสถาบัน แห่งนี้ยิ่งแล้ว แต่พอเหตุการณ์ ณ จุดนั้นเปลี่ยนแปลงไป ระบบงานที่เคยมีแบบแผน ปริมาณที่เคยดูเหมือนจะไม่จุกจิก ภาระที่เหมือนจะไม่หนักอึ้ง บัดเดี๋ยวนี้ เปลี่ยนไปแล้ว งานมีปริมาณมากขึ้น เหนื่อยอย่างที่อดบ่นไม่ได้ เพื่อนๆ หลายคนย้าย หลายคนโยก หลายคนแย่งไปเป็นตำแหน่งที่ดีกว่า เพื่ออนาคตที่ดีกว่า เงินดีกว่า ภาพแบบนี้ ท่านพ่อคงไม่ได้เห็นเพราะมันเกิดหลังยุคของท่านฯ ความต้องการของสมาชิกฯ ยุคนี้ เปลี่ยนไป ....มีความต้องการมาก...มากเรื่อง มากนิสัย มากความ มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ทำให้ภาระหนักอึ้งยิ่งแล้ว ตกแก่ลูกๆของท่านฯ ที่ท่านฯเคยพร่ำสอนให้อดทน บางทีอาจจะอดกลั้นไม่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม คลื่นของการบ่น การโยกย้าย การเปลี่ยนแปลง ยังไม่มีขึ้นในช่วงนี้ ทั้งนี้ ก็ด้วย 2 - 3 เหตุผล 1. งานของวุฒิสภาค่อนข้างลงตัว เพราะใช้เวลางมหาทางมาแบบดำน้ำ ประมาณ 5 ปี นับแต่ได้รับเลือกตั้ง และจะครบวาระแล้ว แต่ถ้าครบวาระแล้ว วุฒิสภาชุดใหม่ซึ่งเป็นนักดำน้ำเก่งก็จะมาอีก แต่ก็คงต้องใช้เวลาดำนำกันอีกอยู่ดี อย่างน้อยก็ประมาณ 4 ปี 2. ภาวะความผันผวนของฝ่ายบริหาร หรือหน่วยงานอื่นก็ยังไม่แน่นอน หากจะไปก็คงต้องลำบากในการดำเนินชีวิต ...ต้องคอยไปสักระยะ 3. รอ.....รอเงินเพิ่ม...เพื่อว่ามันอาจจะทดแทนในสิ่งที่ขาดหายได้ เมื่อเป็นเยี่ยงนี้แล้ว คำถามที่ตรงๆ ตรงไปตรงมา ของบรรดาลูกๆของท่านฯ คือ 1. ท่านฯ ประสงค์ให้ลูกๆทำงานในสถาบันที่รักต่อไป ใช่หรือไม่ 2. ถ้า... 1.ใช่ ท่านฯจะช่วยพวกลูกๆของท่านอย่างไร
    คำตอบ

    เรียน ลูกน้อย..คนหนึ่ง

     

            ถ้าเห็นว่าอยู่ที่เดิมมีปัญหา ก็ควรมองหาที่อยู่ใหม่ที่จะทำงานแล้วมีความสุข และสนุก  แต่ถ้าที่เดิมยังพอทนได้ หรือยังหาที่ใหม่ไม่พบ ก็ควรต้องอดทน และคิดว่าไม่ว่าจะทำงานที่ใดก็ย่อมมีปัญหาบ้างไม่มากก็น้อย  คนที่จะมีความสุขได้ ก็คือ รับรู้สภาวะและวัฒนธรรมขององค์กร แล้ว ปรับความรู้สึก ให้อยู่ได้อย่างสนุกและเป็นสุข ด้วยความขยันและอดทน

            อันค่าตอบแทนนั้นยิ่งได้มากก็ยิ่งดี เป็นของธรรมดา  แต่การจะได้มาก็ต้องดูว่าเป็นช่องทางที่ถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่  มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาในภายหลังได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 มกราคม 2548