ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012865 การไม่ลงประกาศกฎหมายในราชกิจจานุเบกษามีผลอย่างไรธรรมศาสตร์รุ่นลูกท่าน13 มกราคม 2548

    คำถาม
    การไม่ลงประกาศกฎหมายในราชกิจจานุเบกษามีผลอย่างไร
     

    ข้อเท็จจริง :
    ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.๒๕๔๔ ตามข้อมูลใน website สำนักงานศาลยุติธรรม แจ้งไว้ในรวมระเบียบ ประกาศ คำสั่ง คณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม (ก.บ.ศ.) ปี พ.ศ.๒๕๔๓ ถึง ๒๕๔๕ หน้า ๑๒๑ ระบุว่า ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ลงชื่อ ประธานกรรมการบริหารศาลยุติธรรม
    คำถาม :
    ๑) หากต่อมาปรากฏว่า ระเบียบฯ ฉบับดังกล่าวมิได้ลงประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา จะเกิดผลต่อกระบวนการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ดำเนินการไปแล้วตามระเบียบฯ นี้ว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร และคู่ความเดิมจะยกอ้างว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเดิมอีกครั้งได้หรือไม่ อย่างไร
    ๒) ระเบียบฯ , ประกาศฯ , คำสั่งฯ ต่างๆ ที่ออกใช้บังคับโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง หากระเบียบฯ , ประกาศฯ , คำสั่งฯ นั้น มิได้ลงประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเพื่อแจ้งให้ทราบทั่วกัน ถือได้เพียงใดหรือไม่ว่าบังคับใช้ได้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
    ๓) หากข้อเท็จจริงเป็นกรณีอื่นใดที่ระเบียบฯ , ประกาศฯ , คำสั่งฯ นั้นมีความรับผิดทางอาญาเชื่อมโยงเกี่ยวข้องด้วย บุคคลจะยกอ้างความไม่รู้กฎหมายได้หรือไม่ (เมื่อมิได้มีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาจริง)
    ๔) ควรให้ถือว่า กฎหมายประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วโดยผ่าน website ของสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องพิมพ์เป็นรูปเล่มด้วยกระดาษหรือไม่   (ธรรมศาสตร์รุ่นหลาน)13/01/2548

    คำตอบ

        1.-2.  ขึ้นอยู่กับว่ากฎหมายกำหนดให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนจึงจะใช้บังคับได้หรือไม่  ถ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ การไม่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก็ไม่ทำให้ประกาศนั้นเสียไป

        3. โดยปกติระเบียบใดที่จะมีผลให้เกิดความผิดขึ้นได้ กฎหมายจะกำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนจึงจะมีผลบังคับเสมอ  

        4. ถ้าเมื่อไรที่จะให้มีการประกาศทางเว็บแทนการประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายก็จะเขียนไว้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 มกราคม 2548