ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012820 อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการตามกฎกระทรวง (ต่อเนื่องจากคำถามที่ 012814)สุนทร6 มกราคม 2548

    คำถาม
    อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการตามกฎกระทรวง (ต่อเนื่องจากคำถามที่ 012814)

    เรียน   ท่านอาจารย์มีชัย

              ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้กรุณาให้ความเห็นและคำแนะนำในคำถามที่  012814  กระผมขอนำเรียนข้อมูลเพิ่มเติมและขอถามเพิ่มเติมดังนี้ครับ

              กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการฯ  กำหนดว่า  ให้ส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่.......

              -  ศึกษา  ค้นคว้า  วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการเก็บรักษา  การแปรรูปสัตว์น้ำ  การวิเคราะห์ตรวจสอบ  รับรองคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำให้ได้มาตรฐานและถูกสุขอนามัยและสุขลักษณะ

               และกฎกระทรวงฯ  ได้กำหนดให้หน่วยงานย่อยหนึ่งของส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่.......

              -  การควบคุม  ตรวจสอบ  กำกับดูแลสุขลักษณะด้านความปลอยภัยต่อการบริโภคสัตว์น้ำตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

              -  ให้การรับรองคุณภาพสินค้าสัตว์น้ำ  แหล่งเลี้ยง  แหล่งจับ  สะพานปลา  เรือประมง  สถานแปรรูปเบื้องต้น  โรงงานผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตามมาตรฐานที่กำหนด

               อำนาจหน้าที่ดังกล่าวนี้มิได้มีพระราชบัญญัติเฉพาะอื่นใดกำหนดให้ส่วนราชการมีอำนาจหน้าที่ต้องกระทำโดยตรง   แต่ในการส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศนั้นผู้ส่งออกจำเป็นต้องหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าจากส่วนราชการไปแสดงต่อประเทศปลายทางตามที่ประเทศเหล่านั้นกำหนด    ซึ่งกระผมเห็นว่า  ส่วนราชการมีหน้าที่ตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงที่จะต้องให้บริการตรวจสอบหรือตรวจวิเคราะห์รับรองคุณภาพสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนดเพื่อออกหนังสือรับรองคุณภาพสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการส่งออก  และในทางกลับกันผู้ส่งออกก็มีสิทธิที่จะเรียกให้ส่วนราชการทำหน้าที่ให้บริการดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน  ถ้าหากส่วนราชการจะออกกฎหรือมีคำสั่งให้เรียกเก็บค่าบริการในการทำหน้าที่นี้โดยที่มิได้มีพระราชบัญญัติเฉพาะอื่นใดให้อำนาจไว้  ก็น่าจะเป็นการกระทำที่กระทำต่อต่อสิทธิของบุคคลโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย  เข้าข่ายเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

                ดังนั้น  ประเด็นพิจารณาก็คือ  ในการทำหน้าที่ให้บริการตรวจรับรองสินค้าดังกล่าวนี้  ส่วนราชการจะเรียกเก็บค่าบริการตามราคาต้นทุนเพื่อนำเงินส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินได้หรือไม่ 

               จึงขอเรียนถามท่านอาจารย์ได้โปรดให้ความเห็นและคำแนะนำด้วยครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณสุนทร

            ในกรณีที่ว่ามานี้ ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายของไทยบังคับใครให้ต้องมาขอคำรับรองหรือหนังสือรับรองก่อนส่้งสินค้าออก หากแต่เป็นเรื่องของเอกชนต่อเอกชนที่เขาติดต่อและเรียกร้องกันเอง ส่วนราชการเพียงแต่มีหน่วยงานไว้รองรับเพื่อให้บริการ ดังนั้นเมื่อใครมาขอรับบริการ การบริการนั้นย่อมเป็นบริการพิเศษ ทางราชการจึงชอบที่จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อนำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินได้  มิฉะนั้น ก็จะไม่เป็นธรรมแก่คนอื่น เพราะหน่วยราชการที่ว่านี้ดำเนินการอยู่ได้ก็โดยอาศัยเงินงบประมาณซึ่งมาจากภาษีอากรของคนอื่น ๆ ด้วย อย่างคุณและผมเป็นต้น แต่คุณและผมไม่ได้ใช้บริการดังกล่าว คนที่มาใช้บริการเขาได้รับประโยชน์ และเขาสามารถผลักเป็นภาระแก่ลูกค้าของเขาได้ เขาจึงไม่ควรมีสิทธิที่จะได้รับบริการบนค่าใช้จ่ายของคุณและของผม

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 มกราคม 2548