ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012814 อำนาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฯสุนทร4 มกราคม 2548

    คำถาม
    อำนาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฯ

    เรียน   ท่านอาจารย์มีชัย

    ขอรบกวนเรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกรมต่าง ๆ  ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราขการกรมนั้น ๆ  ว่ามีขอบเขตแค่ไหน  กรมฯ  จะอ้างอิงอำนาจดังกล่าวมาใช้ได้แค่ไหนเพียงใด

    ในประเด็นนี้มีหลายหน่วยงานได้ออกกฎระเบียบของตนเรียกเก็บเงินค่าบริการจากประชาชนผู้ใช้บริการที่หน่วยงานนั้นได้ดำเนินการให้บริการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดในกฎกระทรวง  โดยที่การเรียกเก็บค่าบริการนั้นไม่ได้มีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจกระทำได้  แต่หน่วยงานนั้น ๆ ก็อ้างว่ามีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมฯ ของตนมาอ้างอิงเป็นอำนาจในการออกกฎระเบียบ  

    ซึ่งในประเด็นนี้กระผมเห็นว่ากฎกระทรวงดังกล่าวไม่ใช่บทกฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงาน  แต่เป็นเพียงตัวกำหนดขอบอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานซึ่งมีมีลักษณะทำนองเดียวกันกับวัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัดเท่านั้น     และขณะนี้หน่วยงานที่กระผมสังกัดได้สั่งการให้ดำเนินการออกระเบียบเรียกค่าบริการในทำนองเดียวกันดังกล่าวด้วย

    จึงขอเรียนถามท่านอาจารย์โปรดให้ความเห็นและคำแนะนำด้วยครับ

     

    คำตอบ

    เรียน คุณสุนทร

          ส่วนราชการนั้นจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินภารกิจของรัฐ ซึ่งรวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชนตามอำนาจหน้าที่ที่มีกฎหมายกำหนดไว้  เรื่องใดที่กฎหมายเห็นว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการเฉพาะบุคคล และประสงค์จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ ก็จะกำหนดไว้ในกฎหมาย ให้อำนาจในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการได้ ส่วนจะเรียกเก็บเท่าไร หรืออย่างไร นั้นมักจะให้ไปออกเป็นกฎกระทรวง เรื่องใดที่มิได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ส่วนราชการก็จะไปเรียกเก็บเอาไม่ได้ เว้นแต่เป็นบริการที่เห็นได้ชัดว่าทางราชการจะไม่ทำให้เปล่า และสิ่งนั้นจะนำไปใช้ในเชิงธุรกิจได้ เช่น ในการพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาเพื่อเผยแพร่  ซึ่งทางราชการอาจเรียกเก็บค่าต้นทุนได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มิได้เก็บตามต้นทุนที่เป็นจริง  อย่างไรก็ตามในกรณีที่ทางราชการทำสิ่งใดให้กับผู้ใดเป็นการพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่ปกติ ทางราชการก็อาจเรียกเก็บค่าตอบแทนได้ แต่ค่าตอบแทนนั้นก็ต้องนำส่งคลัง    เรื่องที่คุณว่ามานั้น คงต้องบอกด้วยว่าจะเรียกเก็บเป็นค่าอะไร จึงจะช่วยออกความเห็นให้ได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 มกราคม 2548