ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    012777 ทำไม กทม. ใช้วิธีโทรแจ้งเลิกจ้างงานน้อง29 ธันวาคม 2547

    คำถาม
    ทำไม กทม. ใช้วิธีโทรแจ้งเลิกจ้างงาน

    เรียน อาจารย์มีชัย

    ดิฉันในฐานะผู้เสียภาษีให้กับรัฐบาล ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับความถูกต้องในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ์ ราษฎร์บูรณะ ว่าเหมาะสมถูกต้องตามระเบียบของทางราชการหรือไม่  เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ได้โทรมาแจ้งเลิกจ้างงานลูกจ้างถึงที่บ้าน โดยมีผลทันที ไม่ต้องมาทำงานแล้ว ลูกจ้างชั่วคราว (อัตราจ้าง ตำแหน่งนักวิชาการฯ) ทำการเซ็นต์สัญญาทุกๆ 3 เดือน เสียค่าประกันสังคมทุกๆ เดือน แต่ไม่ได้รับเงินชดเชยการเลิกจ้าง เพราะสัญญา 3 เดือน ถ้าไม่ครบ 6 เดือนประกันสังคมไม่จ่าย

    ไม่ทราบว่าพอจะมีคำตอบที่ช่วยอธิบายว่าการกระทำดังกล่าวนี้เหมาะสม ถูกต้องหรือไม่ค่ะ ดิฉันส่ง e-mail เพื่อสอบถามไปเมื่อประมาณวันที่ 4 ธันวาคม 2547 แต่ยังไม่เคยได้รับคำตอบเลยค่ะ  รบกวนอาจารย์ช่วยไขข้องใจให้ด้วยนะคะ

     

    ขอบพระคุณค่ะ

    คำตอบ

    เรียน น้อง

     

           ระบบราชการนั้นแม้จะก้าวหน้าอย่างไร การจะเลิกจ้างก็ยังต้องทำเป็นเอกสารอยู่นั่นเอง การที่จู่ ๆ มีคนโทรศัพท์มาเลิกจ้าง คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าคนที่โทร.มาเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริง ทางที่ดีคุณควรไปที่ทำงานเพื่อสอบถามให้แน่ ว่าเลิกจ้างเพราะเหตุใด หากเห็นว่าไม่เป็นธรรมจะได้ร้องเรียนต่อหน่วยเหนือขึ้นไปได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 ธันวาคม 2547