ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    042625 เรื่องการยกเลิกระเบียบเก่าใช้ข้อบังคับใหม่ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัยฉันธะ จันทะเสนา15 พฤศจิกายน 2553

    คำถาม
    เรื่องการยกเลิกระเบียบเก่าใช้ข้อบังคับใหม่ว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย

    กราบเรียนอาจารย์มีชัย

                มรภ.วไลยฯอลงกรณ์ยกเลิกระเบียบว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย 2548 มาใช้ข้อบังคับว่าด้วยพนักงานมหาวิทยาลัย 2553 ซึ่งมีสาระสำคัญคือ มีระยะสัญญาจ้าง 5 ระยะคือ

                ระยะที่ 1 มีสัญญาจ้าง 1 ปี

                ระยะที่ 2 มีสัญญาจ้าง 3 ปี

                ระยะที่ 3 มีสัญญาจ้าง 5 ปี

                ระยะที่ 4 มีสัญญาจ้าง 7 ปี

                ระยะที่ 5 มีสัญญาจ้างไปจนอายุ 60 ปี

                โดยมีบทเฉพาะกาลกำหนดว่า

    -        กรณีที่พนักงานมหาวิทยาลัยที่มีตําแหนงอาจารย์ให้ต่อสัญญาจ้างเขาสู่ระยะที่สองถ้าพนักงานมหาวิทยาลัยผู้นั้นผ่านเกณฑ์การประเมิน

    -         กรณี ที่พนักงานมหาวิทยาลัยมี ตําแหนงทางวิชาการตั้งแตผู้ช่วยศาสตราจารยขึ้นไป ใหต่อสัญญาจ้างเข้า สู่ระยะที่สามถ้าพนักงานมหาวิทยาลัยผูนั้นผานเกณฑการประเมิน

     

    โดยผู้บริหารอ้างว่า

                1. “เพื่อให้มีความสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2551ในมาตรา 12 หมวด 9 การบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษามาตรา 65/1 การกำหนดตำแหน่ง ระบบการจ้างการบรรจุและการแต่งตั้ง อัตราค่าจ้างและค่าตอบแทนเงินเพิ่มและสวัสดิการ การเลื่อนตำแหน่ง การเปลี่ยนและการโอนย้ายตำแหน่งการลา จรรยาบรรณ วินัยและการรักษาวินัย การดำเนินการทางวินัย การออกจากงาน การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ และการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันอุดมศึกษา”

                2. นิยามพนักงานมหาวิทยาลัยหมายถึงผู้ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้เข้าทำงานในมหาวิทยาลัยและได้รับเงินจากงบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัย ตามระเบียบฯ 2548 นั้นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้มหาวิทยาลัยสามารถจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยได้จากเงินงบประมาณแผ่นดิน

                3. ตามระเบียบ 2548 นั้นพนักงานมหาวิทยาลัยไม่สามารถเข้าสู่ตำแหน่งบริหารมหาวิทยาลัยได้ เพราะกำหนดให้ทำหน้าที่วิชาการและกลุ่มงานสนับสนุนเท่านั้น

                4.ไม่สอดคล้องกับ พ.ร.บ อุดมศึกษา 2551 ที่พนักงานมหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็นสามประเภทคือ

                ก.ตำแหน่งนักวิชาการที่ทำหน้าที่สอนและวิจัย (ได้แก่ อาจารย์ ผศ. รศ. ศ.)

                ข.ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร (ได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ฯลฯ)

                ตำแหน่งประเภททั่วไป (ระดับเชี่ยวชาญ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ ระดับชำนาญการ และระดับปฏิบัติการ)

     

    ประเด็นปัญหาคือ

    1.    พนักงานทุกคนที่เคยได้รับสัญญาจ้างตลอดชีพทั้งจากงบรายได้และงบแผ่นดิน ตาม ระเบียบ 2548 นั้นต้องถูกยกเลิกโดนบังคับให้เข้าสู่ข้อบังคับว่าด้วยพนักงาน 2553 ในระยะที่ 2 กรณีที่เป็นอาจารย์ และระยะที่สามกรณีที่เป็น ผศ.นั้น ได้รับความเดือดร้อน เพราะระยะเวลาการจ้างงานเปลี่ยนไม่มีความมันคงจึงถูกปฏิเสธจากการกู้เงินจากธนาคาร

    2.   พนักงานมหาวิทยาลัยเกรงว่าเกณฑ์และวิธีการประเมินจะไม่เป็นธรรม

     

    คำถาม

    1.   พนักงานมหาวิทยาลัยจะอุทธรณ์ขอใช้ระเบียบเดิมได้หรือไม่

    2.   พนักงานมหาวิทยาลัยทุกคนที่อยู่มาก่อนใช้ข้อบังคับว่าด้วยพนักงามหาวิทยาลัย 2553 นั้นต้องเข้าสู่ข้อบังคับฯดังกล่าวทั้งหมดใช่หรือไม่

     

    ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง

    ฉันธะ จันทะเสนา

    คำตอบ

    1. อุทธรณ์ไม่ได้ ได้แต่จะร่วมมือกันขอให้สภามหาวิทยาลัยทบทวน

    2. ถ้าข้อบังคับกำหนดไว้เช่นนั้น ก็ต้องเป็นไปตามนั้น เว้นแต่จะเปลี่ยนข้อบังคับนั้นเสียก่อน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 พฤศจิกายน 2553