ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013073 ผู้นำผู้รักสถาบัน8 กุมภาพันธ์ 2548

    คำถาม
    ผู้นำ

    ขอเรียนถามว่าเหตุใดผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากหลายสถาบัน ซึ่งคนทั่วไปมองว่าแสดงถึงความเป็นผู้มีความสามารถและหาได้ยาก คือมีน้อยบุคคลที่จะได้รับเกียรติดังกล่าว ถูกบางคนพลิกประเด็นให้กลับกลายเป็นจุดอ่อน เสนอให้นายกสภามหาวิทยาลัยจะเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยอื่นในขณะเดียวกันไม่ได้ ตามความเห็นมองว่าผู้นำไม่ใช่ผู้ที่ต้องเดินทางไปปฏิบัติงานเป็นประจำทุกวัน แต่เป็นผู้วางและกำกับนโยบายเพื่อผลักดันให้สถาบันพัฒนารุดหน้าในทิศทางที่ควรจะเป็นไป การเป็นผู้นำในหลายสถาบันจึงไม่ใช่เป็นปัญหา ยิ่งในช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อย่อมต้องการผู้ที่เป็นผู้กล้าและมีวิสัยทัศน์ที่จะนำการเปลี่ยนแปลง หากเป็นบุคคลที่หลายสถาบันให้ความเชื่อถือและยอมรับ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดี

    จึงเห็นว่าไม่ชอบด้วยเหตุผลในการที่มีบางคนพยายามมองและนำมายกเป็นข้ออ้างเสนอเป็นประเด็นแก้ไขในร่าง พรบ. ให้นายกสภามหาวิทยาลัยจะเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยอื่นในขณะเดียวกันไม่ได้   โดยขอแสดงความคิดเห็นคัดค้านเนื่องจากมองว่าการเป็นผู้นำในหลายสถาบันนั้นไม่ได้เป็นจุดอ่อนแต่อย่างใดและกลับตรงกันข้าม   ดังนั้นจึงขอเสนอให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาคมโดยเปิดเป็น 'เว็บไซค์รับฟังความเห็นโดยเฉพาะ' ทางเว็บไซค์ของสถาบัน เพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรทุกระดับของมหาวิทยาลัยได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันในประเด็นดังกล่าวและทุกประเด็นที่เป็นข้อแตกต่างกันระหว่างร่าง พรบ.มหาวิทยาลัยที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ได้นำมาเปรียบเทียบกันเพื่อรับฟังเสียงจากประชาคม เพื่อให้ประชาคมได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกันโดยทั่วถึง

    โดยความเคารพ

    เปรมจิตต์

    คำตอบ

     

           เป็นเรื่องของนานาจิตตัง สุดแต่พื้นฐานทางจิตใจของแต่ละคน เมื่อพื้นฐานหรือจริตแตกต่างกันย่อมมองแตกต่างกันได้  จิตที่เย็น ย่อมมีแต่ความสุขและความสงบ จิตที่เร่าร้อน ย่อมมีแต่ความทุกข์และวุ่นวาย

           การรับฟังความคิดเห็นเป็นสิ่งดี  เพียงแต่โดยนิสัยคนไทย มักจะมีลักษณะ "ธุระไม่ใช่" เสียเป็นส่วนใหญ่

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 กุมภาพันธ์ 2548