ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    047478 ภาษีป้ายของโรงเรียนเอกชนนายชอบธรรม23 กรกฎาคม 2555

    คำถาม
    ภาษีป้ายของโรงเรียนเอกชน

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย

    คือผมเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนตาม พรบ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2525 ได้ติดป้ายของโรงเรียน ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียน ป้ายดังกล่าวมีทั้งหมดหลายป้าย อาทิ ป้ายชื่อของโรงเรียน ป้ายหลักสูตรและระดับชั้นที่เปิดสอน เป็นต้น   ต่อมาทางเทศบาลฯ ได้มาเรียกเก็บภาษีป้าย ดังนี้แล้วผมจึงมีคำถาม

    1. โรงเรียนเอกชนต้องเสียภาษีป้ายหรือไม่  เพราะมาตรา 8(9) แห่งพระราชบญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บัญญัติยกเว้นภาษีป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ผมจึงเห็นว่าโรงเรียนเอกชนที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้องไม่ต้องเสียภาษีป้ายแต่อย่างใด

    2. หากอุทธรณ์คำสั่งของเทศบาลฯ และเรื่องขึ้นสู่ศาลภาษีอากรกลาง จะมีโอกาสชนะคดีหรือไม่  เนื่องจากในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐและอาจรวมถึงศาล ยึดถือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2545 เป็นบรรทัดฐาน  ซึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวตัดสินว่าป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหมายความถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยเท่านั้น  ป้ายอื่นๆ ของโรงเรียนที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนต้องเสียภาษีป้ายทั้งหมด

    3. คำพิพากษาศาลฎีกา เป็นคำพิพากษาที่ศาลอื่นๆ จะใช้เป็นบรรทัดฐานตัดสินคดีอื่นที่มีรูปคดีเช่นเดียวกันเสมอไปหรือไม่  หากศาลนั้นเห็นว่าคำพิพากษาศาลฎีกานั้นไม่ชอบ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    นายชอบธรรม

    คำตอบ

    1. ถ้าติดไว้ในอาคารหรือบริเวณโรงเรียนก็ไม่ต้องเสีย

    2. ก็ต้องลองฟ้องและสูคดีขึ้นไปใหม่ เผื่อศาลฎีกาจะเปลี่ยนใจ ข้อสำคัญลองอ่านคำพิพากษาฎีกานั้นดูว่าเขาอาศัยประเด็นอะไรจึงตัดสินเช่นนั้น

    3. ปกติศาลชั้นต้นมักจะคล้อยตาม แต่ก็ไม่แน่ บางครั้งศาลชั้นต้นก็ไม่ฟังก็มี


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 กรกฎาคม 2555