ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045550 ก อบต มีอำนาจสอบความผิดของพนักงานท้องถิ่นได้ทันทีหรือสงสัยจัง25 สิงหาคม 2554

    คำถาม
    ก อบต มีอำนาจสอบความผิดของพนักงานท้องถิ่นได้ทันทีหรือ

    กราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า  มีมติ ก อบต จังหวัดหนึ่งตราไว้ดังนี้

    "ข้อ ...กรณีความปรากฏต่อคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบล(ก อบต จังหวัด)ว่ามีเหตุผลความจำเป็นเพื่อให้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลและการปฏิบัติราชการของพนักงานส่วนตำบลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ระหว่างพนักงานส่วนตำบล ผู้บริหาร ผู้นำชุมขน และไม่สามารถดำเนินการโอนพนักงานส่วนตำบลระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักความสมัครใจได้ ให้ดำเนินการดังนี้

    1 ให้ ก อบต จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแก้ไขปัญหาในการโอนย้าย ประกอบด้วย

    -รองผู้ว่าที่ผู้ว่ามอบหมายเป็นประธาน

    -ผู้ทรงคุณวุฒิใน ก อบต จ. จำนวน 3 คนเป็นอนุ ก.ก.

    -ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลใน ก อบต จ. จำนวน 3 คนเป็นอนุ ก.ก.

    -ผู้แทนพนักงานส่วนตำบลใน ก อบต จังหวัด จำนวน 3คน เป็นอนุ ก.ก.

    -ท้องถิ่นจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ

    -คณะอนุ ก.ก.มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงสอบถามความเห็นของผู้บริหารและสรุปความเห็นตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาเสนอ ก อบต จ.ภายใน 45 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำสั่ง

    -2 เมื่อ ก อบต จ.พิจารณาผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว หากปรากฏว่ามีเหตุผลและความจำเป็นอันสมควร   ให้ ก อบต จ.มีมติให้ พนักงานส่วนตำบลโอนไปสังกัด อบต.อื่นได้ เมื่อคณะ ก.อบต.จ.มีมติเป็นประการใด ให้นายก อบต ที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามมตินั้นภายใน 45 วัน

    -มติ ก อบต จ.ตาม ข้อ 2 ให้ถือเป็นที่สุด

    -----------------------------------------------------------------------

    คำถาม  ตามหลักการเบื้องต้นซึ่งคงไปลอกมาจาก ก อบต กลาง หมายความว่าดังนี้กระนั้นหรือ

    1 เมื่อนายก อบต ซึ่งเป็น ผบ.ของ พนักงาน อบต.มีเรื่องขัดแย้งกันกับลูกน้อง  ก็ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบเอง โอนเรื่องไปให้ ก อบต จ.สอบได้เลยหรือ

    2 ไม่ต้องมีการพิสูจน์ว่าใครผิด ก็อาจยืมมือ ก อบต จ.ให้โอน พนักงาน อบต ที่ขัดแย้งนั้นไปอยู่ที่อื่นได้เลยหรือ 

    3 ไม่มีการตราไว้ว่า หากเหตุแห่งความขัดแย้งเกิดจากนายก อบต เองทำไม่ถูกต้องแล้วจะให้ ก อบต จ.ทำประการใด และไม่ต้องสอบสวนเอาผิดประการใดเลย ถ้าขัดแย้งกันก็โอนพนักงาน อบต ไปอยู่ที่อื่นได้เลยหรือ

    4 แล้วหากการขัดแย้งกันก่อให้เกิดผลเสียหายต่อ อบต. ก็ไม่ต้องหาคนทำผิดรับผิดชอบค่าเสียหายที่กระทบต่อองค์กรเลยหรือ

    กราบขอบพระคุณในคำตอบล่วงหน้า

     

     

    คำตอบ
    คำถามทั้งหมดตอบรวม ๆ ได้ดังนี้  การที่ความขัดแย้งกันระหว่าง นายก อบต.กับเจ้าหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ปกติก็เป็นเรื่องที่ นายก อบต.จะจัดการแก้ไขปัญหานั้นให้ลุล่วงไป แต่ถ้าแก้ไขไม่ได้ และไม่สามารถโอนเจ้าหน้าที่คนนั้นได้ (ตามหลักความสมัครใจ เช่น เพราะเขาไม่ยอมโอน) ก็ต้องหาคนชี้ขาด  การชี้ขาดนั้นเป็นการชี้ขาดเรื่องความขัดแย้ง ซึ่งก็ต้องฟังความทั้งสองฝ่าย แล้วหาทางออกว่าจะควรดำเนินการอย่างไร  ไม่เกี่ยวกับการกระทำความผิดของฝ่าย  ถ้าความขัดแย้งนั้นเกิดจากการกระทำความผิด หรือมีข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิด ผู้บังคับบัญชาของคนที่ทำผิดก็มีหน้าที่ต้องดำเนินการทางวินัยต่อไป หรือถ้าเกิดความเสียหาย ก็ต้องหาตัวผู้รับผิดชอบ  ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของ คณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้น หากแต่ต้องไปตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นใหม่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 สิงหาคม 2554