ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    036528 ความหมายคำว่าเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริตผอ.เลือกตั้งประจำท้องถิ่น13 สิงหาคม 2552

    คำถาม
    ความหมายคำว่าเป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต

    ขอเรียนถามความหมายคำว่าเป็นผู้มีพฤติกรรมไปในทางทุจริต  ในประเด็นคุณสมบัติของผู้สมัครเลือกตั้งนายกอบต.ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล(ฉบับที่ 5)พ.ศ. 2546  นั้น  จะต้องคลอบคลุมแค่ไหนเช่น  นายกได้กระทำความผิดเบิกเงิน บัญชีระบบประกันสุขภาพของ อบต.ที่ลงนามร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข  โดยให้อบต.จัดตั้งคณะกรรมการและกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเงินให้ประชาชนแต่ละหมู่โดยทำเป็นประกาศของ    อบต.ว่าการจ่ายเงินนั้นประชาชนจะต้องจัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบ  แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายก หลอกให้คณะกรรมการที่มีอำนาจถอนเงินลงนามถอนเงินแต่คณะกรรมการรู้สึกผิดปกติจึงได้ไปแจ้งเจ้าหน้าคณะกรรมการที่เป็นสาธารณสุขตำบลและได้ทำหนังสือระงับการถอนเงินให้ธนาคารและพอนายกไปขอเบิกเงินธนาคารๆไม่ให้ถอนแต่นายกก็ไปถอนเงินต่างสาขาซึ่งปรากฏว่าถอนเงินไปได้และคณะกรรมการก็ได้มีการแจ้งความและทำบันทึกข้อตกลงโดยนายกยอมรับว่าทุจริตและจะนำเงินที่ถอนไปมาคืน  ลักษณะนี้ถือว่ามีพฤติกรรมไปในทางทุจริตหรือไม่  ขอได้โปรดให้ความกระจ่างด้วยค่ะเพราะต้องนำไปประกอบการพิจารณาคุณสมบัติในวันพรุ่งนี้  ขอพระคุณอย่างสูงค่ะ

    คำตอบ

    ถ้าจะพิจารณาตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย พฤติกรรมดังกล่าวก็พอถือได้ว่าเป็นพฤติกรรมในการทุจริต แต่เมื่อยังไม่มีคดีฟ้องร้องต่อศาลที่ศาลจะวินิจฉัยเช่นนั้น การที่คุณจะหยิบยกข้อเท็จจริงที่รู้มาไปตัดสิทธิของเขา ก็จะเป็นการเสี่ยงอยู่ เพราะข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นอาจถูกปฏิเสธในภายหลังได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 สิงหาคม 2552