ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    036147 น้ำสาธารณะเฉลิม20 กรกฎาคม 2552

    คำถาม
    น้ำสาธารณะ

    สวัสดีครับครับ  มีเรื่องรบกวนอีกแล้วครับ

    เมื่อปีที่ผ่านมาผมได้ไปซื้อที่ดินไว้แปลงหนึ่ง ต่างอำเภอ แต่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน  ที่ดินผืนนี้อยู่ในเขตเทศบาลครับ แต่มีปัญหาเรื่องน้ำสาธารณะครับ คือได้ยินชาวบ้านแถวนี้บอกว่าถ้าอยากใช้น้ำสาธารณะเพื่อการเกษตร ให้ไหลข้าที่ดินตนเอง จะต้องแจ้งแก่เหมืองให้ทราบ ให้เขาจัดสรรน้ำให้โดยเสียค่าธรรมเนียมปีละ 200 บาทต่อครอบครัว

     อาจารย์ รู้จักคำว่า แก่เหมืองหรือเปล่าครับ  เท่าที่ผมรู้ แก่เหมืองก็คล้ายๆกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านที่ดูแลเรื่องน้ำหรือจัดสรรน้ำสาธารณะให้แต่ละหมู่บ้าน เพื่อไม่ให้เกิดการทะเลาะแย่งน้ำกันภายในตำบลนั้นๆ

    คำถามคือว่า

    1.     ในเขตเทศบาลการจัดสรรน้ำสาธารณะที่ใช้ในการเกษตรเป็นหน้าที่ของเทศบาลหรือเปล่าครับ

    2.     ถ้าในตำบลนั้นๆมี อบต อยู่ การจัดสรรน้ำสาธารณะตรงนี้ เป็นหน้าที่ของ อบต ใช่หรือไม่ครับ

    3.     ถ้าหากผมต้องการใช้น้ำสาธารณะนี้ จำเป็นต้องเสียค่าธรรมเนียม 200 บาทนี้หรือเปล่า

    4.     โดยปกติทั่วไปแล้วหน่วยไหนที่ดูแลเรื่องการจัดสรรน้ำสาธารณะนี้ให้ชาวบ้านครับ

     

    แก่เหมืองมาจากไหน ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน  มีกฎหมายรับรองหรือเปล่าก็ไม่รู้  เมื่อถามชาวบ้านเขาก็บอกว่าแก่เหมืองมีมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว  จากการสอบถามคนในตำบลนี้มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 800 หลังคาเรือน คูณด้วย 200 บาท แสดงว่าแก่เหมืองมีรายได้ถึง 160000 บาทต่อปีเชียวน่ะครับอาจารย์

     

     

    คำตอบ

    1. การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรเป็นหน้าที่ของชลประทาน เว้นแต่ที่อยู่นอกเขตชลประทาน ก็มีชลประทานราษฎร์ หรือการจัดสรรน้ำตามแบบชาวบ้านทางเมืองเหนือ ที่เรียกว่าแก่เหมืองนั่นแหละ เป็นการรวมตัวกันของชาวบ้านกันเอง

    2. คงเกินกำลังของ อบต.ที่จะจัดสรรน้ำให้ได้

    3. ก็ถ้าทุกคนเขาต้องเสียเงินเพื่อจะได้มีน้ำใช้ร่วมกัน คุณก็คงต้องเสียกระมัง มิฉะนั้นใครเขาจะมาจัดสรรน้ำให้ได้

    4. กรมชลประทาน ถ้าอยู่ในเขตของเขา

        การจะจัดสรรน้ำให้ทั่วถึง ก็คงต้องมีการลงทุนเพื่อกั้นน้ำและผันน้ำไปยังที่กำหนด เขาคงไม่ได้นั่งนอนรับเงินเฉย ๆ หรอก  ลองสอบถามชาวบ้านและศึกษาขนบธรรมเนียมเขาดูบ้างก็น่าจะดี


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 กรกฎาคม 2552