ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039884 ถูกสั่งย้ายไปต่างจังหวัดด่วนจุ้ย16 เมษายน 2553

    คำถาม
    ถูกสั่งย้ายไปต่างจังหวัดด่วน

    เรียน อ.มีชัยและทีมงาน

    ดิฉันทำงานที่บ.เข้าปีที่4 ค่ะ เมื่อวันที่ 8 เม.ย 10  ทางนายจ้างเรียกไปคุย จะสั่งย้ายจากสำนักงานใหญ่กรุงเทพ ไปที่โรงงานที่ระยองค่ะ ปัจจุบันทำตำแหน่งจัดซื้อ แต่ไปที่โรงงานถามนายจ้างเรื่องขอบเขตของงานเค้าก็ตอบเพียงว่าเหมือนเป็นเลขา-หรือผู้ช่วยนายช่างที่โรงงาน แต่ที่คุยกับนายจ้างจับใจความมาลำเลียงและดูจากที่เคยประสานงานกับทางโรงงานมา3ปีกว่า ตำแหน่งที่จะไปทำมันเหมือนเป็นประสานงานทั่วไปไม่ได้มีจุดยืนเหมือนที่ทำจัดซื้อในปัจจุบัน ได้ถามนายจ้างว่าพนักงานจัดซื้อมีทั้งหมด 4 คนรวมดิฉันด้วย ทำไมต้องเป็นดิฉัน นายจ้างแจ้งว่าเป็นระเบียบบริษัท (ดิฉันไม่เคยทราบเลยค่ะ) พนักงานจัดซื้อถ้าอายุงานเกิน2ปีต้องมีการย้ายไปที่ต่างๆๆเช่นโรงงานหรือไซด์งานของบริษัท ไม่ใช่ไม่ไว้ใจว่าจะมีการทุจริตแต่เป็นระเบียบบริษัท อีกอย่างประสบการณ์ก็เยอะกว่าคนอื่น ที่โรงงานระยองงานไม่เป็นระบบจะให้ดิฉันไปวางระบบ และได้มอบหมายให้ดิฉันทำงาน 1ชิ้นซึ่งงานนี้ตอนแรกทางนายจ้างและหัวหน้าดิฉันได้รับคนใหม่มาทำแต่นี่ผ่านไปครึ่งปีแล้วยังทำไม่สำเร็จนายจ้างได้อ้างว่าคนที่รับมาใหม่ทำไม่เสร็จเพราะไม่มีประสบการณ์ เด็กเพิ่งเรียนจบมาใหม่ๆๆค่ะ  และนายจ้างก็ยกตัวอย่างคนที่ดิฉันรู้จัก 2 คน คนแรกเคยเป็นหัวหน้าจัดซื้อ ก็ถูกย้ายไปประจำที่ระยองไปเป็นมาเก็ตติ้งค์ฝ่ายหางานเข้าบริษัท อีกคนก็เป็นหัวหน้าเก่าดิฉันย้ายไปคุมงานดูพวกแบบก่อสร้างประจำไซด์งาน นายจ้างถามแล้วว่างัยไปได้ไหม ดิฉันก็อึ้งโง่ไปเลยไม่เคยคิดค่ะ ตอบไปว่าไปก็ได้ก็มันเป็นระเบียบ บริษัท(และต่อท้ายไปว่า เวลาอยากไปก็ไม่ให้ไปเพราะก่อนหน้านั้นดิฉันเคยขอไปทำงานที่ระยองตอนที่มีคนที่นั่นลาคลอด 2 ครั้งค่ะ) ไม่ได้ถามกลับไปว่าถ้าไม่ไปได้หรือไม่ กลับบ้านหยุดสงกานต์ได้ไปคุยกับแม่และพี่ๆๆแล้ว ทุกคนไม่อยากให้ไปเป็นห่วง       ที่โรงงานระยองก็ไกล เค้าจะจัดที่พักให้ที่บ้านฉางระยอง โรงงานอยู่ที่แยกมาบข่าเข้าไปลึกหลายกิโลค่ะ ก็ขึ้นรถมากับคนงานที่โรงงานค่ะ ที่สำคัญย้ายไปเลยอาจไม่มีโอกาสได้กลับเข้ากรุงเทพค่ะ ดิฉันได้ถามนายจ้างแล้ว เค้าแจ้งว่าย้ายไปเรื่อยๆๆถ้ามีงานขึ้นที่ไหนก็อาจได้ไปอยู่ค่ะ

    1. ถ้าดิฉันจะไปแจ้งว่าไม่ไปแล้วจะได้ไหมคะ เพราะวันที่เรียกคุยตัดสินใจคนเดียว     ว่าไปก็ได้ก็มันเป็นระเบียบบริษัท(แบบไม่เต็มใจค่ะ)

    2.ถ้าไม่ไป แล้วนายจ้างไม่ให้อยู่ที่กรุงเทพ  ถ้าลาออกจะได้อะไรหรือเปล่าคะ

    3. ดิฉันคิดว่าการย้ายครั้งนี้คงไม่ใช่แค่เรื่องงาน คงมีเรื่องส่วนตัวด้วยค่ะ

    เพราะเมื่อก่อนดิฉันทำงานคนเดียวก็มีน้องใหม่มาช่วยทำบ้างแต่ไม่มีใครอยู่ได้นานได้งานใหม่ก็ลาออกไปกันหมด   2 ปีมีน้องใหม่วนเวียนมาทำงานด้วย ประมาณ 5 คนค่ะ ปัจจุบันก็ยังติดต่อดิฉันอยู่นะคะ ปีที่3 น้องใหม่จะลาออก บังเอิญมีน้องที่ห้องบัญชีเค้าทะเลาะภายในแผนกมาปรึกษาขอมาอยู่จัดซื้อด้วย ดิฉันเลยไปคุยกับหัวหน้าว่าถ้าน้องเค้ามาอยู่ด้วยคงช่วยงานได้เยอะเพราะรับน้องใหม่มากี่คนก็ลาออกได้งานใหม่กันหมด สอนไปก็พึ่งไม่ได้ หัวหน้าก็ยินดีเห็นด้วยไปคุยกับนายจ้าง และได้น้องคนนั้นมาทำงาน สัก 7-8 เดือนพวกเค้าก็คืนดีกัน ดิฉันซิที่ไม่ค่อยเข้าพวกพ้องกับพวกห้องบัญชีตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานทีบริษัทแล้ว ส่วนมากจะคุยเฉพาะเรื่องงานค่ะ เลิกงานแล้วก็คุยเท่าที่จำเป็น ดิฉันมี ลุง คนหนึ่งที่สนิทด้วย ก็คุยกับแกบ่อย เพราะแกเองก็เคยทะเลาะกับคนในห้องบัญชีมาก่อนหน้าที่ดิฉันจะเข้ามาทำงานที่นี่อีก  เวลามีเรื่องอะไรไม่สบายใจอึกอัดใจก็จะเล่าให้แกฟัง  1 อาทิตย์ก่อนที่จะถูกเรียกไปคุยเรื่องย้าย  ลุงที่สนิทด้วย แกฟิวส์แตกเพราะมีคนเอาจดหมายของแกไปซ่อนอยู่ใต้กล่องที่มีจดหมายของคนที่ไม่มีชื่อในบริษัทแล้วคือพวกที่ลาออกไปนานแล้ว ทั้งที่จดหมายของแกเพิ่งมา2-3วันแต่ไปอยู่ล่างสุด ของกล่อง แกก็ไปโวยวายกับฝ่ายบุคคล เสียงดังลั่นและพูดเรื่องต่างๆนาๆ มีเรื่องที่ดิฉันเคยเล่าให้แกฟังด้วยนี่ซิ ก็น้องที่ย้ายมาจากห้องบัญชีเค้านั่งบ่นนั่งด่าเลยล่ะ ว่าหัวหน้าเก่าดิฉันที่ถูกย้ายไปที่ไซด์งานแล้วนะตอนที่น้องจากห้องบัญชีด่าว่านั้นยังเป็นหัวหน้าฝ่ายจัดซื้ออยู่ยังไม่โดนย้าย ดิฉันรู้สึกแย่ว่าเอาคนมานั่งด่าหัวหน้าตัวเองรู้สึกไม่สบายใจ พอลุงออกจากห้องฝ่ายบุคคลแล้วแกก็โทรเข้ามาที่โต๊ะทำงานดิฉันเพราะอยู่คนละห้อง คุยกันอยู่นาน น้องที่ย้ายมาจากห้องบัญชี ก็มานั่งบ่นว่าลุงได้ยินได้อย่างไรว่าตัวน้องนั่งด่าว่าหัวหน้าเก่าดิฉันและเป็นหัวหน้าน้องเค้าเช่นกัน ประมาณว่าพูดแดกดันค่ะ คงเอาที่ดักฟังมาติดไว้รู้ทุกคำพูดทั้งที่ทำงานอยู่ในห้องปิดประตู ลุงแกก็ได้ยินเพราะน้องคนนั้นไม่รู้ว่าดิฉันคุยกับใคร ลุงแกก็ออกมาจากห้องและทะเลาะกับน้องคนนั้น ถามว่าด่าหัวหน้าจริงไหมและเยอะแยะทะเลาะวันดังอยู่นานจนฝ่ายบุคคลมาแยก อีก 2 วันต่อมานายจ้างที่เป็นเจ้าของบริษัทก็เรียกประชุมกันทั้งหมดออฟฟิศ เคลียร์กันเสร็จให้ต่างฝ่ายที่ทะเลาะกันขอโทษกัน     ให้ทุกคนในออฟฟิศรับปากว่าจะไม่มีการทะเลาะกัน อาทิตย์ต่อมาดิฉันก็ถูกเรียกไปคุยเรื่องย้าย ก่อนที่จะเข้าเรื่องการย้าย นายจ้างได้ถามคำถามแรกว่า ทำงานอึกอัดไหม กับน้องทีย้ายจากบัญชีน่ะ

    ดิฉันไม่อึดอัดค่ะคุยแค่เรื่องงาน เลิกงานก็ทางใครทางมัน ดิฉันก็ถามทำไมเหรอคะ กลัวดิฉันทะเลาะกับน้องเค้าหรือ ดิฉันแยกออกค่ะ ตอบไปอย่างนั้น นายจ้างก็ไม่ว่าอะไรก็เห็นทุกคนเค้าไปทางห้องบัญชีกันหมดเห็นหนูนั่งทำงานไม่มีเพื่อนสนิทคิดว่าอึดอัด  ดิฉันเลยถามนายจ้างว่า ถ้าดิฉันทะเลาะกับน้องเค้า จะว่าอย่างไร นายจ้างกลับตอบว่า ผมขี้เกียจมาเคลียร์ มาแก้ปัญหา ดิฉันว่าดิฉันไม่ใช่ตัวปัญหานะคะ เพราะดิฉันอยู่ที่จัดซื้อมาก่อน ใบสมัครงานก็ตำแหน่งจัดซื้อค่ะ  และต่อจากนั้นก็แจ้งย้ายตามที่ได้เล่าก่อนหน้านี้ค่ะ

    รบกวนตอบให้ด้วยค่ะ เดือนพ.ค. นี้ เดือนหน้าต้องย้ายไปแล้วถ้าลาออกก็ยังไม่มีงานทำค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    จุ้ย

     

     

     

     

     

     

     

     

    คำตอบ

    เรียน คุณจุ้ย

    1. เมื่อตกลงกับเขาแล้วก็ควรไป เมื่อไปแล้วเห็นว่าไม่มีความสุขในการทำงาน ก็ค่อย ๆ หางานที่อื่นทำ เพราะมีประสบการณ์อยู่แล้วอาจหางานได้ง่ายขึ้น

    2. การลาออกย่อมได้ทำได้เสมอ แต่เมื่อลาออกเองแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิได้เงินค่าชดเชย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 เมษายน 2553