ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048910 ขายมรดกwichan18 มีนาคม 2556

    คำถาม
    ขายมรดก

    เรียนท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพ

       แม่ยายของข้าพเจ้าอายุ 78 ปี  ได้ทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองยกที่นา 20 ไร่ให้แก่ลูก 4 คน โดยมีภรรยาข้าพเจ้าเป็นผู้จัดการมรดก  แต่ขณะนี้ น้องภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีลูก 1 คนมีปัญหาเรื่องไม่มีเงินส่งให้ลูกเรียนต่อปริญญาตรี จึงต้องการขายมรดกที่นาที่จะได้รับให้แก่ภรรยาข้าพเจ้า  เพื่อนำเงินไว้ส่งเสียลูกเรียน  โดยจะทำเป็นหนังสือสัญญา  แสดงเจตจำนงค์หรือสัญญาอะไรไม่ทราบว่าเมื่อแม่เสียชีวิตแล้วได้รับมรดก  จะยกให้เป็นของภรรยาข้าพเจ้า  ทำนองนี้

       ขอปรึกษาดังนี้

    1.กรณีนี้ ทำได้หรือไม่  หรือควรทำอย่างไร

    2.ถ้าทำได้  แล้วถ้าเกิดน้องภรรยาคนนี้ เกิดเบี้ยว  ไม่ยอมในภายหลัง จะทำอย่างไร

    3.ถ้าน้องภรรยาคนนี้เกิดเสียชีวิตก่อนแม่  และลูกของเธอมีสิทธิ์ในมรดก สัญญาที่ทำกันไว้ จะมีผลหรือไม่

     

    คำตอบ

    การที่แม่ยายทำพินัยกรรมไว้นั้น ไม่ได้แปลว่าคนที่ระบุในพินัยกรรมจะมีสิทธิ์อะไร เป็นแต่เพียงการคาดการว่าแม่ยายจะไม่เปลี่ยนพินัยกรรม  เพราะตราบใดที่แม่ยายยังไม่ตาย ก็สามารถทำพินัยกรรมใหม่ได้เสมอ  การขายในสิ่งที่ตนไม่แน่ว่าจะมีจึงเป็นความไม่แน่นอน

    1. ทำน่ะทำได้อยู่ เป็นทำนองเงื่อนไขบังคับก่อน  ซึ่งถ้าเงื่อนไขนั้นไม่สำเร็จ (คือไม่ได้รับมรดก) สัญญานั้นก็เป็นอันเจ๊ากันไป

    2. ถ้าทำสัญญาแล้ว ฝ่ายหนึ่งเบี้ยวก็คงต้องฟ้องศาลกัน

    3. ถึงตอนนั้นสัญญาขายมรดกก็ไม่ผูกพันลูกของเธอ  เพราะเมื่อเธอตายก่อนก็ไม่มีสิทธิได้รับมรดก  ลูกเธอกลับได้รับมรดกแทนที่แทน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 มีนาคม 2556