ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045311 พ่อตายทำพินัยกรรมแบ่งมรดก แต่ยังมีชีวิต โมฆะหรือไม่ลูก 10 คน13 กรกฎาคม 2554

    คำถาม
    พ่อตายทำพินัยกรรมแบ่งมรดก แต่ยังมีชีวิต โมฆะหรือไม่

    พ่อ-แม่มีทะเบียนสมรส และอยู่ร่วมกันด้วยดีจนวาระสุดท้ายของพ่อ มีลูก 10 คน ต่อมาพ่อตาย พบว่ามีพินัยกรรมทำไว้ที่อำเภอ เมื่อเปิดพบว่ามีการแบ่งมรดกให้ลูกไม่ครบคน มีสัดส่วนและมูลค่าแตกต่างกันมาก เช่น มีการแบ่งที่ดินบางคนได้แค่มูลค่าหลักหมื่น บางคนได้มูลค่าหลัก 10 ล้าน และบางคนได้มูลค่าหลัก 10 ล้าน และยังได้รับที่ดินอีกหลายแปลง ประเด็นที่ต้องการทราบ ดังนี้

    1. แม่ (คู่สมรสพ่อ) ยังมีชีวิต : พินัยกรรมที่พ่อทำจะสมบูรณ์หรือไม่ ทั้งๆ ที่ดินและทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมสร และแม่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำพินัยกรรม (พ่ออาจเข้าว่าเป็นใหญ่ในบ้าน) หากเป็นโมฆะต้องดำเนินการอย่างไร

    2. หากพินัยกรรมข้างต้นเป็นโมฆะ ตามกฎหมายแม่ต้องผู้จัดการมรดก แต่แม่ชราภาพมากแล้ว อายุ 88 และป่วยโรคหัวใจ ความดันต่ำ อ่อนแรง ภาวะการรับรู้และการตัดสินใจอยู่ในระดับที่ไม่สนใจอะไรแล้ว กรณีดังกล่าวหากพี่น้องทุกคนเห็นชอบร่วมกันมอบให้พี่สาวคนโตเป็นผู้จัดการมรดกแทนแม่ได้หรือไม่ (กรุณาปกปิด e-mail ให้ด้วยครับ)

    3. หากพินัยกรรมนั้นไม่เป็นโมฆะ พบว่าแม่ไม่ได้รับส่วนแบ่งนั้น และมีลูกอีก 1 คน ชื่อตกหล่น ทั้ง 2 คน จะได้ส่วนหรือไม่ อย่างไร

           จึงกราบเรียนให้ข้อชี้แนะแนวทางที่เป็นธรรมด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง

    คำตอบ

    1.-2. เจ้าของทรัพย์จะยกทรัพย์ของตัวให้ใครก็ย่อมทำได้ และไม่จำเป็นต้องยกให้เท่า ๆ กัน รักใครมาก หรือสงสารใครมาก ก็ให้มาก คนไหนช่วยตัวเองได้หรือร่ำรวยแล้ว ก็อาจให้น้อยได้ ไม่มีอะไรบังคับได้  แต่ทรัพย์ที่จะยกให้ต้องเป็นทรัพย์ของตัวเอง จะยกทรัพย์ของคนอื่นให้ใครไม่ได้  ในกรณีที่ทรัพย์สินเป็นสินสมรส ก็ต้องแยกสินสมรสออกจากกันเสียก่อน ส่วนของใครคนนั้นจะยกให้ลูกคนไหนก็ย่อมทำได้  เช่น มีทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสมูลค่า ๕๐ ล้าน เมื่อเวลาตาย สินสมรสก็ต้องแยกจากกัน สามีและภรรยาได้ไปคนละ ๒๕ ล้านบาท ในส่วน ๒๕ ล้านบาท สามีที่ตายจะยกให้ใครคนละกี่สิบล้านหรือกี่สลึงก็ย่อมทำได้  ถ้ารวมแล้วเกิน ๒๕ ล้าน (อันเป็นส่วนของตน) ส่วนที่เกินไปก็ใช้บังคับไม่ได้

    3. ถ้าทรัพย์ที่มีอยู่ยกให้คนอื่นไปหมดแล้ว คนที่ตกสำรวจก็ย่อมไม่ได้รับอะไร  แต่ถ้ายังมีทรัพย์สินเหลืออยู่ ส่วนที่เหลืออยู่นั้นก็เป็นมรดกที่ไม่มีพินัยกรรม ลูกทุกคน (ไม่ว่าจะได้รับตามพินัยกรรมแล้วหรือไม่) ก็จะมีสิทธิเท่า ๆ กัน (รวมกับแม่) เช่น ตามตัวอย่างข้างต้น มรดกของพ่อมี ๒๕ ล้านบาท ทำพินัยกรรมยกให้ลูก คนที่ ๑ ห้าล้านบาท คนที่ ๒ และ ๓ คนละ ๑๐ ล้านบาท ลูกคนที่ ๔ ถึงที่ ๑๐ ก็เป็นอันไม่ได้อะไร  แต่ถ้าทำพินัยกรรมยกให้ลูกคนที่ ๑ ถึง ที่ ๓ คนละ ๕ ล้านบาท ก็จะยังเหลือเงินอีก ๑๐ ล้านบาท เงินสิบล้านบาทนี้ ก็จะตกได้แก่ แม่ กับลูก ๑๐ คน(รวมเป็น ๑๑ ส่วน)  แบ่งกันคนละ ส่วน 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 กรกฎาคม 2554