ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044970 การแบ่งมรดกของพ่อวาสินี14 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    การแบ่งมรดกของพ่อ

    เรียนท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพอย่างสูง

    ดิฉันมีเรื่องร้อนใจอยากขอปรึกษาอาจารย์ดังนี้ค่ะ

    ครอบครัวของดิฉันประกอบไปด้วย พ่อ แม่เลี้ยง และลูกทั้งสองของพ่อ ได้แก่ ดิฉันและน้องชาย
    คุณแม่ได้จดทะเบียนหย่ากับคุณพ่อนานแล้ว คุณพ่อได้จดทะเบียนใหม่กับแม่เลี้ยงค่ะ

    เมื่อต้นเดือนก่อนคุณพ่อป่วยหนัก ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ไปโอนเงินเข้าบัญชีของแม่เลี้ยง เพื่อให้นำไปซื้อรถยนต์ไว้ใช้ เมื่อคุณพ่อเสียชีวิต แม่เลี้ยงได้นำเงิน

    จำนวนนี้ไปซื้อรถยนต์คันใหม่โดยเป็นชื่อของแม่เลี้ยง

    ก่อนตาย คุณพ่อมิได้ทำพินัยกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ แต่ได้เรียกลูกทั้งสองและแม่เลี้ยงมาพร้อมกันและสั่งเสียเรื่องแบ่งสมบัติ โดยที่ดินแปลงหนึ่งกับ

    สร้อยทองคำให้แม่เลี้ยงทั้งหมด ส่วนที่เป็นเงินในธนาคาร หุ้นและผลประโยชน์ต่างๆ ให้แบ่งให้แม่เลี้ยงครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่ง ให้แม่เลี้ยง 10% ที่เหลือให้

    แบ่งให้ลูกทั้งสองคนเท่าๆกัน นอกจากนี้ได้สั่งเสียให้ลูกคนโต (ดิฉัน) เป็นผู้จัดการมรดก โดยทุกคนรับทราบ รวมทั้งพ่อเคยบอกกล่าวไว้กับพี่สาวพ่อ (

    ป้า) ตอนที่มาเยี่ยมก่อนตายด้วย

    ดิฉันกับน้องชายไม่ติดใจอะไรเพราะคิดว่าพ่อได้แบ่งให้อย่างยุติธรรมแล้ว เพราะแม่เลี้ยงก็ได้ทั้งรถยนต์ใหม่ และที่ดิน ฯลฯ ส่วนลูกได้เงินในส่วนของพ่อ

    มากกว่า

    แต่หลังจากคุณพ่อตาย แม่เลี้ยงได้แจ้งกับดิฉันว่าต้องการเป็นผู้จัดการมรดกเอง ดิฉันกับน้องชายไม่เห็นด้วย โต้เถียงกัน สุดท้ายทางแม่เลี้ยงขอต่อรองให้เป็น

    ผู้จัดการมรดกร่วมกัน แต่ดิฉันเกรงว่าจะมีความยุ่งยากตามมาเพราะเห็นไม่ตรงกัน

    ดิฉันขอเรียนปรึกษาอาจารย์ดังนี้ค่ะ

    1) ดิฉันจะสามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก โดยที่น้องชายสนับสนุนดิฉัน ได้หรือไม่ แต่ถ้าแม่เลี้ยงแย้ง ศาลจะมีแนวทางพิจารณาอย่างไรคะ
    2) ถ้าศาลให้เป็นผู้จัดการมรดกร่วมแต่เห็นไม่ตรงกันเรื่องการแบ่ง (ดิฉันกับน้องอยากจะทำตามที่พ่อสั่งไว้) จะมีทางออกอย่างไรคะ
    3) ถ้าเขาไม่ยอมแบ่งตามที่พ่อสั่งไว้จริงๆ ก็ต้องเอามาแบ่งให้เขาครึ่งหนึ่งและที่เหลือหารสามใช่หรือไม่คะ
    4) กรณีข้างต้น รถยนต์ที่เขาซื้อใหม่ จะถือว่าเป็นสินสมรส ต้องนำมาแบ่งด้วยหรือไม่คะ (ดิฉันกับน้องใจจริงก็ไม่อยากมีความกับเขาหรอกค่ะ อยากทำ

    ตามเจตนารมย์ของพ่อ ที่ให้เขา แต่ก็ไม่อยากให้เขาแบ่งใหม่โดยเอาเปรียบเราฝ่ายเดียว)

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    วาสินี

    คำตอบ

    1. ศาลก็คงให้ออมชอมเป็นผู้จัดการร่วมกัน เพราะในฐานะที่เขาเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เขาก็มีส่วนได้เสียเหมือนกัน

    2. ถ้าเขายอมแบ่งตามที่พ่อสั่งไว้ ก็ควรทำเป็นหนังสือประนีประนอมยอมความร่วมกันไว้เป็นหลักฐานแล้วจะได้แบ่งไปตามนั้นได้ แต่ถ้าเขาไม่ยอม ก็ต้องแบ่งตามกฎหมายในฐานะที่เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรม โดยแบ่งดังนี้ อะไรที่เป็นสินสมรส (คือได้มาในระหว่างสมรส ที่ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกหรือการยกให้) ก็แบ่งให้เขาครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งจึงแบ่ง ๓ ได้คนละส่วนเท่า ๆ กัน  แต่อะไรที่เป็นสินส่วนตัวของพ่อ (คือพ่อมีมาก่อนที่จะสมรสกับเขา) ก็แบ่ง ๓ ได้คนละส่วนเท่า ๆ กัน

    3. ไม่ใช่ ดูคำตอบข้อ 2

    4. เป็นสินสมรส


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 มิถุนายน 2554