ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044691 จะทำอย่างไรดีครับด้อง24 พฤษภาคม 2554

    คำถาม
    จะทำอย่างไรดีครับ
        กราบเรียนถามอาจารย์ครับ       ภรรยากระผมได้เสียชีวิตไป        เจ้าหนี้บัตรเครดิตของภรรยาได้ฟ้องกระผมในฐานะทายาทโดยธรรม          ศาลได้ตัดสินให้กระผมใช้หนี้แทนภรรยาแต่ไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับมาจากภรรยา        แต่กระผมไม่ได้รับมรดกอะไรจากภรรยา       และภรรยาก็ไม่มีทรัพย์สินมรดกอื่นใดด้วย       เงินต่างๆที่ทางราชการจ่ายให้มา ( ภรรยารับราชการ ) กฎหมายก็มิได้ถือว่าเป็นมรดกและเธอก็ยกให้ลูกทั้งหมด        จะมีอยู่ก็เพียงบ้านหลังเดียวที่พ่อตาของกระผมปลูกให้ครอบครัวกระผมอยู่ในที่ดินของพ่อตา       แต่ภรรยากระผมมีชื่อเป็นเจ้าบ้าน       ก่อนหน้านั้นครอบครัวกระผมก็อาศัยรวมกันอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของพ่อตา       แต่ภรรยากระผมมามีปัญหากับน้อง ๆเขา      พ่อตาเลยมาปลูกบ้านให้อยู่อีกหลังหนึ่งเพื่อที่ภรรยากระผมจะได้อยู่ดูแลพ่อตาและแม่ยายกระผมซึ่งเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตกันทั้งคู่     และบ้านหลังนี้กระผมก็ได้แถลงต่อศาลไปแล้วในวันที่ไปขึ้นศาลว่าเป็นบ้านของพ่อตา      เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ปลูกบ้านพ่อตาเป็นคนจ่ายทั้งหมด        ภรรยาของกระผมเป็นเพียงเจ้าบ้านเท่านั้นเพราะพ่อตาและแม่ยายกระผมมีอายุแล้วแถมยังมีดรคประจำตัวจะไปไหนมาไหนจะทำอะไรมันก็ไม่สะดวก         และนับตั้งแต่ที่ศาลตัดสินจนถึงวันนี้ก็เกือบจะสองเดือนแล้ว       แต่ทางเจ้าหนี้เขาก็ยังเฉยอยู่ไม่เห็นที่จะมาดำเนินการบังคับคดีอะไร        กระผมไปดูที่ศาลหมายบังคับคดีก็ไม่มี         พ่อตาแม่ยายกระผมน้องภรรยาเขาก็มารับกลับไปอยู่บ้านหลังใหญ่กันแล้วเพราะไม่มีใครดูแล          กระผมเองก็ตั้งใจที่จะย้ายกลับบ้านกระผมเหมือนกัน         แต่ที่ยังอยู่บ้านหลังนี้ก็เพียงเพราะต้องการที่จะอยู่เคลียร์เรื่องคดีความให้มันจบไปก่อนเท่านั้นเอง           แต่ทางเจ้าหนี้เขาเงียบอยู่        ซึ่งอย่างนี้กระผมก็ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่รู้ว่าเขาจะทำอย่างไรซึ่งก็จะได้โต้แย้งคัดค้านสู้กันไปให้มันจบ           เมื่อเป็นแบบนี้กระผมจึงอยากที่จะกราบเรียนถามว่า       การบังคับคดีกับลูกหนี้ที่ตายไปแล้วมีอายุความหรือไม่ครีบ      และหากจะใช้อายุความเหมือนธรรมดาทั่วไป          แล้วหากวันดีคืนดีผ่านไปห้าปีหรือจะสิบปีแล้วเขาจะมาขอยึดทรัพย์บังคับคดีแล้วคนที่อยู่ในบ้านจะทำอย่างไรกัน        เพราะคนที่ตายไปแล้วไม่มีทางที่จะมีทรัพยสินอื่นใดขึ้นมาได้อีก            ทรัพย์สินที่แม้จะมีอยู่ในตอนนี้ก็จะต้องชำรุดทรุดโทรมหมดอายุไปตามวันเวลา       แม้แต่บ้านหลังนี้เองเขาก็ต้องอาจที่จะรื้อสร้างใหม่  ( บ้านนี้จะต้องทำอย่างไรให้มันรู้กันไปเลยว่าเป็นมรดกหรือเปล่า    เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเข้ามาบังคับคดีหรือไม๋ )   กระผมขอคำแนะนำด้วยครับ       กราบขอบพระคุณอาจารย์                             
    คำตอบ
    คดีตอนนี้ไม่ใช่เป็นการบังคับผู้ตายแล้ว แต่เป็นการบังคับทายาท คือ คุณ ถ้าคุณไม่ได้รับมรดกอะไร คุณก็ไม่ต้องรับผิดอะไร ส่วนบ้านนั้น ถ้าไม่ใช่ของภรรยา เจ้าหนี้ก็มายึดไม่ได้  อายุความในการบังคับคดี มี ๑๐ ปี นับแต่ศาลตัดสิน
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 พฤษภาคม 2554