ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    042263 ลูกเมียเก่ากับมรดกกลุ้มใจ12 ตุลาคม 2553

    คำถาม
    ลูกเมียเก่ากับมรดก

    ผมเป็นพ่อม่ายครับ เลิกกับภรรยาเก่า (ไม่ได้จดทะเบียน) มีลูกกับภรรยาเก่า 2 คน (จดรับรองบุตร) ตอนนี้ผมแต่งงานใหม่แล้ว (จดทะเบียนสมรส) และมีลูก 2 คน (จดรับรองบุตร) อยากถามว่า

    1.ถ้าผมซื้อที่ดินและให้อยู่ในชื่อภรรยาใหม่ และระบุในโฉนดด้วยว่าให้เป็นสินส่วนตัวของภรรยา เนื่องจากผมกลัวว่าลูกเมียเก่าจะอ้างว่าที่ดินนี้ซื้อด้วยเงินผมซึ่งเป็นพ่อเขา ดังนั้นเขามีสิทธิที่จะได้ด้วย ก็เลยป้องกันด้วยการให้ระบุในโฉนดว่าทีดินนี้เป็นสินส่วนตัวภรรยาใหม่ สมมติต่อมาผมตายไป อยากถามว่าลูกผมที่เกิดกับภรรยาเก่าจะมาเรียกร้องที่ดินนี้ได้หรือไม่

    2.กรณีเหมือนข้อ 1 ครับ แต่เปลี่ยนเป็นว่าผมระบุชื่อในโฉนดเป็นชื่อลูกที่เกิดกับภรรยาใหม่ อยากถามว่าลูกภรรยาเก่าจะมาฟ้องร้องเอาที่ดินผืนนี้ไปได้หรือไม่

    3.ผมเห็นกรณีลูกภรรยาเก่ามาฟ้องร้องเอาทรัพย์สินเวลาเราตายไปแล้ว ทำให้เกิดความยุ่งยากแก่ภรรยาใหม่และลูกมาก ผมกลัวจะเกิดกรณีนี้กับผมครับ เคยได้ยินว่าการทำพินัยกรรม ก็อาจโดนฟ้องได้ว่าอาจเป็นพินัยกรรมปลอม ผมไม่อยากให้เกิดเรื่องวุ่นวายแย่งทรัพย์สินกันตอนผมตายไปแล้ว อาจารย์พอมีทางใดแนะนำได้ไหมครับ

    คำตอบ

    ทรัพย์สินของคุณ ๆ จะยกให้ใครก็ย่อมทำได้ เมือ่ให้ไปแล้วก็เป็นสิทธิของคนนั้น ใครก็ไปแย่งไม่ได้  แต่อะไรที่ยังเป็นของคุณอยู่ถ้าไม่ได้ทำพิน้ยกรรมไว้ ลูกทุกคนก็ย่อมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 ตุลาคม 2553