ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    041163 การครอบครองปรปักษ์ผู้จัดการมรดกหนึ่งในสอง23 กรกฎาคม 2553

    คำถาม
    การครอบครองปรปักษ์

    ดิฉันเป็นหนึ่งในสองของผู้จัดการมรดก  ซึ่งบิดาเสียชีวืตไปเมื่อเดือนเมษายน ปีพ.ศ.2522  ขณะนี้มีปัญหาบ้านดิฉันซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินของบิดา ที่จังหวัดนนทบุรี มานาน 30กว่าปี  แต่โฉนดที่ดินซึ่งเป็นชื่อของบิดานั้น ผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นพี่สาวต่างมารดานำโฉนดนำไปถือครอง  และพี่สาวคนนี้ได้แจ้งการเป็นผู้จัดการมรดกไว้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี ที่ดิน ด้วย  ซึ่งดิฉันไม่ได้แจ้งการเป็นผู้จัดการมรดกแต่อย่างไร  จึงขอเรียนถามว่า

    1.ดิฉันควรทำอย่างไรจึงจะได้เป็นเจ้าของที่ดิน ตามโฉนดที่ดินนี้  หรือ

    2. ดิฉันควรทำอย่างไรดี จึงจะมีสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมาย

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้

                                                             ขอแสดงความนับถือ

                                                             ผู้จัดการมรดกหนึ่งในสอง

     

    คำตอบ
    ถ้าคุณเป็นผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง คุณก็เอาคำสั่งศาลไปแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบแล้วเชิญผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งมาตกลงในการแบ่งมรดกแล้วร่วมกันดอนให้ทายาทตามสิทธิของแต่ละคน ถ้ายังตกลงกันไม่ได้ ก็โอนใส่ชื่อผู้จัดการมรดกทั้งสองคนไว้ก่อน แล้วจึงค่อยดำเนินการโอนให้ทายาทต่อไป แต่ควรรีบทำเสียโดยเร็ว ไม่ควรทิ้งไว้นาน เพราะยิ่งปล่อยนานไป ก็ยิ่งยุ่งยากมากขึ้น ปล่อยไว้ได้อย่างไรตั้งสามสิบกว่าปี
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 กรกฎาคม 2553