ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    038963 ภรรยาเสียชีวิต แต่ทำพินัยกรรมให้มารดาเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีสินสมรสรวมอยู่ด้วยสมนึก27 มกราคม 2553

    คำถาม
    ภรรยาเสียชีวิต แต่ทำพินัยกรรมให้มารดาเป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีสินสมรสรวมอยู่ด้วย

    กราบเรียน พณฯ ท่าน ที่เคารบอย่างสูง

        ผมเป็นคนวิเศษฯ ต.หลักแก้ว ครับ รับราชการสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวิเศษชัยชาญ มีปํญหาเกี่ยวกับสินสมรส (จดทะเบียนสมรส ปี 2538) กล่าวคือภรรยาเสียชีวิต 17 ก.พ.2552 ด้วยโรคมะเร็ง ก่อนเสียชีวิตเธอแอบทำพินัยกรรม 3 ก.พ.2552 ยกมรดกให้บุตรทั้งสองคน โดยแต่งตั้งให้มารดาของเธอเป็นผู้จัดการมรดก แต่ในพินัยกรรมนั้นมีสินสมรสที่ทำร่วมกันไว้หลายอย่าง ซึ่งได้ลงชื่อเธอไว้คนเดียว เช่น เงินฝาก รถยนต์ เป็นต้น

        มารดาของเธอได้ยืนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ศาลจังหวัดอ่างทอง ตามคดีคดีเพ่งหมายเลข 471/2552  โดยประกาศศาลจังหวัดอ่างทอง ลงวันที่  8 ตุลาคม 2552 ซึ่งศาลนัดไต่สวนคำร้องเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2552 เวลา 13.30น โดยศาลจังหวัดอ่างทองออกคำสั่งคดีหมายเลขดำที่ 471/2552 คดีหมายเลขแดงที่ 545/2552 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552  ให้มารดาของเธอเป็นผู้จัดการมรดก เนื่องจากไม่มีผู้คัดคาน

    ผมไม่ทราบว่ามีประกาศนี้และไม่ได้มีการแจ้งให้ผมทราบแต่ประการใด ซึ่งผมได้ได้ทราบประกาศนี้เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2553 โดยเพื่อนร่วมงานเห็นและแจ้งให้ผมทราบ ซึ่งเลยวันยื่นคำร้องคัดค้านไปแล้ว  (ผมได้ยื่นคำร้องขอคัดสำเนาคำร้องและคำสั่งศาลไว้แล้วเมื่อวันอังคารที่ 26 มกราคม 2553)

        ยากทราบว่า

        1.การปิดประกาศโดยไม่แจ้งให้ผมทราบ <โดยผมมีที่อยู่และมีหลักแหล่งแน่นอน>  นั้นเป็นการดำเนินการอย่างโปร่งใส และเป็นหรือไม่

        2.การทำพินัยกรรมโดยรวมสินสมรสไปด้วยนั้นเป็นการถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

       3.ทรัพย์สินที่ยกให้แก่บุตรผมมีสิทธิ์ที่จะจัดการฝากสถาบันการเงินให้เกิดผลประโยชน์งอกเงยให้มากที่สุดแก่บุตรของผมในวันข้างหน้าหรื่อไม่

       4.ขอความกรุณา พณฯ ท่าน ช่วยแนะนำด้วยครับว่าผมควรทำอย่างไรจึงจะเกิดความเสียหายน้อยที่สุด

             ด้วยความเคารพอย่างสูง

                  สมนึก นาคกุญชร
               
    sn54g@hotmail.com
                     0874161325

     

      

    คำตอบ

    เรียน คุณสมนึก

    1.  เป็นวิธีการปกติของศาลที่จะดำเนินการอย่างนั้น ไม่มีอะไรผิดปกติ เพราะศาลไม่มีทางรู้ว่าผู้ตายมีสามีหรือไม่และอยู่ที่ไหน  ถ้าคุณเห็นว่าคุณอาจเสียหายได้ก็ควรรีบยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งคุณเป็นผู้จัดการมรดกร่วมได้

    2. ผู้ตายไม่มีสิทธิยกทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสส่วนของสามีให้คนอื่นได้  ได้แต่ยกส่วนของตนให้คนอื่น

    3. ถ้าบุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็ย่อมอยู่ในอำนาจปกครองของคุณ ๆ ย่อมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินของบุตรได้ แต่การทำนิติกรรมบางอยู่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 มกราคม 2553