ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037865 มรดกที่ดินลูกๆ8 พฤศจิกายน 2552

    คำถาม
    มรดกที่ดิน

    เรียน ท่านมีชัย

            คุณพ่อของดิฉัน ได้เสียชัวิตไปแล้ว แต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ คุณพ่อไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ โดยทั้งบ้านและที่ดิน ยังคงเป็นชื่อของคุณพ่ออยู่ ต่อมาทางคุณแม่และพี่น้องส่วนใหญ่ มีความต้องการที่จะเซ็นยกทรัพย์สินให้แก่ดิฉันซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูคุณแม่ แต่มีพี่อีกหนึ่งคน ไม่ยินยอมเซ็น ไม่ทราบว่าในการเซ็นยินยอมยกทรัพย์สินให้ ใช้เสียงส่วนใหญ่ได้หรือไม่ ควรจะทำอย่างไรดีค่ะ

                                                         ขอบคุณค่ะ

     

    คำตอบ

    เรียน ลูก ๆ

    ทรัพย์สินที่มีอยู่แม้จะเป็นชื่อของพ่อ แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างที่พ่อสมรสกับแม่ ทรัพย์สินนั้นก็เป็นสินสมรส เมื่อพ่อตายไป ทรัพย์สินนั้นจะต้องแยกเป็นของแม่ส่วนหนึ่งเป็นของพ่อส่วนหนึ่ง (เท่า ๆ กัน) ส่วนของแม่ก็เป็นของแม่ไป ส่วนที่เป็นของพ่อ ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ย่อมตกได้แก่แม่และลูกคนละเท่า ๆ กัน ถ้าแบ่งทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมดเป็น ๖ ส่วน  ๓ ส่วนแรกจะเป็นของแม่ในฐานะเป็นสินสมรส ๓ ส่วนที่สอง เปนมรดกของพ่อที่จะตกได้แก่แม่และลูก ๒ คน คนละส่วนเท่า ๆ กัน แม่จึงมีสิทธิในทรัพย์สินทั้งหมด ๔ ส่วน ลูกสองคนได้คนละ ๑ ส่วน  ส่วนที่เป็นของแม่ ๔ ส่วนนั้น แม่จะยกให้ใครก็ได้ แต่ส่วนของลูกคนละ ๑ ส่วนนั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าตัว เขาจะยกให้ใครหรือไม่ยกให้ใครก็ได้ ถ้าเขาไม่ยอมยกให้ใคร ก็ต้องแบ่งให้เขาไปตามสิทธิของเขา คนอืนไปบังคับเขาไมได 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 พฤศจิกายน 2552