ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037714 คำสั่งก่อนเสียชีวิตถือเป็นพินัยกรรมหรือไม่ลูกสาว29 ตุลาคม 2552

    คำถาม
    คำสั่งก่อนเสียชีวิตถือเป็นพินัยกรรมหรือไม่

    กราบเรียนสอบถามอาจารย์ดังนี้ค่ะ

    คุณพ่อเสียชีวิตได้ 1 ปีกว่าแล้ว  ก่อนเสียชีวิตได้สั่งเสียแก่ลูกๆ และคุณแม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินว่าที่แปลงไหนจะยกให้ใครไว้แล้ว  และทุกคนรับรู้เหมือนกัน  เมื่อคุณพ่อเสียชิวิตไม่นาน  พี่คนโตกล่าวอ้างว่าช่วงที่พ่อป่วยหนักได้เรียกเขาไปสั่งเสียสองต่อสองเป็นอีกอย่าง  และอ้างสิทธินี้ในการจัดการเรื่องที่ดินต่างไปจากที่ทุกคนรับรู้  แต่เนื่องจากผู้ที่อ้างสิทธิเป็นพี่คนโต  และอ้างว่าแม่เห็นด้วย(ซึ่งแม่ก็ออกปากรับคำว่าเห็นด้วย)

    ถามว่า  สามารถรวมพี่น้องที่เหลืออ้างสิทธิตามที่พ่อสั่งไว้ก่อนเสียชีวิตได้หรือไม่

    (หมายเหตุ-คำสั่งพ่อคือไม่ยกที่ดินให้พี่คนนี้แล้ว  เพราะเคยเอาที่ดินของครอบครัวมูลค่าเป็นสิบล้านไปจำนองธนาคารเพื่อทำธุรกิจแล้วถูกฟ้องล้มละลายไม่ได้คืนเลย  แต่พี่อ้างว่าพ่อบอกว่าให้ยกทีดินและบ้านอีกแปลง  ซึ่งเดิมต้องให้น้องๆแบ่งกันให้กับตนอีก

    กราบขอบพระคุณค่ะ

    คำตอบ
    คำสั่งเสียนั้นไม่ใช่พินัยกรรม ถ้าทุกคนเชื่อฟังและยินยอมพร้อมใจกันก็ปฏิบัติไปตามนั้นได้ แต่ถ้ามีใครขัดข้อง ก็ต้องถือว่าเป็นมรดกไม่มีพินัยกรรม ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นสินสมรสก็ต้องแบ่งครึ่งให้แม่ไปก่อนครึ่งหนึ่ง ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งลูกทุกคนรวมทั้งแม่มีสิทธิคนละเท่า ๆ กัน
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 ตุลาคม 2552