ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037650 ฟ้องผู้จัดการมรดกคุณลาวัลย์25 ตุลาคม 2552

    คำถาม
    ฟ้องผู้จัดการมรดก

    กราบเรียนอาจารย์ค่ะ

    คุณพ่อ - คุณแม่ จดทะเบียนสมรส ก่อนปี  พ.ศ. 2500 (มีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย 4 คน)

    พ.ศ. 2531 คุณพ่อถึงแก่กรรมด้วยอุบัติเหตุ   ปัจจุบันคุณแม่อายุ 78 ปี (เริ่มมีหลงลืมบ้าง)

    พ.ศ. 2536 คุณแม่รับโอนที่ดิน 2 แปลง และที่ดินพร้อมบ้าน 1 แปลง ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล

     

    ทรัพย์สินมีที่ดิน 1 แปลงชื่อคุณแม่ และอีก 3 แปลง ชื่อคุณพ่อ ดังนี้

    -    แปลงที่ 1 ที่ดินเกษตร  22 ไร่ ของคุณยายให้คุณแม่ทำประโยชน์ และโอนให้เป็นชื่อคุณแม่ตามพินัยกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2525

    -    แปลงที่ 2 ที่ดินเกษตร  3 ไร่ ชื่อคุณพ่อ  คุณแม่รับโอนตามคำสั่งศาลเมื่อปี พ.ศ. 2536

    -    แปลงที่ 3 ที่ดิน 2 ไร่ พร้อมบ้านที่อยู่ปัจจุบัน ชื่อคุณพ่อ  คุณแม่รับโอนตามคำสั่งศาลเมื่อปี พ.ศ. 2536

    -    แปลงที่ 4 ที่ดินธุรกิจติดถนน  3 ไร่ ชื่อคุณพ่อ  คุณแม่รับโอนตามคำสั่งศาลเมื่อปี พ.ศ. 2536

     

    ปี พ.ศ. 2550 คุณแม่โอนที่ แปลงที่ 4 ให้ลูกคนโต

    ระยะเวลาต่อมาคุณแม่ทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองไว้ ยกที่แปลงที่ 1, 2, 3+บ้าน ให้ลูกๆ 2 คน (1 คนไม่ขอรับ) โดยที่ดินทุกแปลง ให้เป็นชื่อกรรมสิทธิ์ร่วมกันทั้ง 2 คน (โดยไม่มีชื่อลูกคนโต)

     

    ขณะนี้ ลูกคนโต  กำลังเรียกร้องคุณแม่ขอที่ดินเพิ่มอีก โดยจะฟ้องร้องคุณแม่ ในฐานะผู้จัดการมรดก

     

    กราบเรียนถามอาจารย์ดังนี้

    1. ขณะนี้อายุความเกิน 10 ปีแล้ว ที่คุณพ่อเสีย  ลูกคนโต สามารถฟ้องร้องขอแบ่งที่ดินมรดกเพิ่มจากคุณแม่ได้อีกหรือไม่ ถ้าได้ในเงื่อนไขอื่นๆ ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยตอบคำถามด้านล่างจะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ
    2. คุณแม่อ้างว่า   “ลูกคนโต เป็นบุตรที่สร้างความเดือดร้อนหลายเรื่อง ทั้งยังเพิ่มภาระให้ครอบครัวโดยคุณแม่ ต้องเลี้ยงดูหลาน 3 คนมากว่า 10 ปี  (ลูกๆ ของลูกคนโต) ตั้งแต่อายุไม่กี่เดือน  ต้องชดใช้หนี้ให้ลูกคนโต อีกจำนวนหนึ่ง, และหลายสิบปีหลังคุณพ่อเสียไม่ได้ให้การช่วยเหลือเลี้ยงดูแม่ในฐานะบุตร เหมือนบุตรคนอื่นๆ ”   คำบอกเล่าพร้อมพยานบุคคลรอบข้างเหล่านี้มีน้ำหนักกล่าวอ้างให้ศาลรับฟังได้หรือไม่ หากถูกฟ้องร้อง
    3. หลังมีข่าวลูกคนโต กำลังจะฟ้องร้อง ขณะนี้คุณแม่ต้องการโอนแบ่งที่ดินทั้งหมดให้น้อง ๆ  3 คนโดยยกให้เป็นมรดก  ถามอาจารย์ว่า  คุณแม่ควรทำแบบนี้ดีหรือไม่ และลูกคนโต จะตามฟ้องร้องเพื่อขอแบ่งที่ดินหรือบ้านจากน้อง ๆ ได้หรือไม่
    4. หรือถ้าคุณแม่ต้องการขายที่ดินให้น้องๆ 3 คน แทนการยกให้เป็นมรดก  หรือขายให้บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในมรดก ลูกคนโต จะตามฟ้องร้องขอแบ่งทรัพย์จากการขายที่ดินจากคุณแม่ได้หรือไม่

    สงสารคุณแม่มาก

    ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงค่ะ

    ลาวัลย์

    คำตอบ
    ขอตอบรวม ๆ กันดังนี้  ถ้าข้อเท็จจริงที่บอกมาว่า มีการโอนที่ดินมาให้แม่ตามคำสั่งศาลน่ะหมายถึงการโอนมาในฐานะผู้จัดการมรดก ที่ดินนั้นก็อยู่ในชื่อของแม่ในฐานะผู้จัดการมรดก ซึ่งอายุความ 10 ปีจะไม่ใช้ เพราะเป็นการถือครอบแทนทายาท  ในกรณีเช่นนั้นคงต้องเริ่มคิดแบ่งสรรปันส่วนกันใหม่ คือถ้าที่ดินเหล่านั้นเป็นที่ดินที่ได้มาในระหว่างที่พ่อกับแม่สมรสกัน ที่ดิน้เหล่านั้นก็เป็นสินสมรส เมื่อพ่อตาย ที่ดินทั้งหมดก็ตกได้แก่แม่ครึ่งหนึ่ง ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งจึงตกได้แก่ทายาทรวมทั้งแม่ด้วยอีกคนละเท่า ๆ กัน  แล้วก็ลองคำนวณดูว่าส่วนที่จะเป็นมรดก (ไม่รวมส่วนที่จะต้องตกเป็นของแม่ในฐานะที่เป็นสินสมรส) แล้วจะได้คนละเท่าไร  แล้วดูว่าที่ดินแปลงที่โอนให้ลูกคนที่ 4 ไปนั้น มีมูลค่าเท่าที่เขาจะพึงได้หรือยัง ถ้ายัง ก็ต้องให้เขาเพิ่มจนเท่าที่เขาพึงได้ ถ้าเกินไปแล้ว เขาก็ไม่มีสิทธิจะได้อะไรอีก
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 ตุลาคม 2552