ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    036653 ข้อขัดแย้งเมื่อเจ้ามรดกตายเกิน 10 ปีกาญจนา20 สิงหาคม 2552

    คำถาม
    ข้อขัดแย้งเมื่อเจ้ามรดกตายเกิน 10 ปี

    คุณปู่ทวดได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง ไม่ทราบเวลาที่ซื้อ ณ เวลาที่ซื้อยังไม่เป็นโฉนดที่ดิน คุณปู่มีลูก 4 คน

    โดยนายหนึ่ง (ปู่ของผู้ถาม) ซึ่งเป็นลูกคนโตเสียชีวิตลง ก่อนคุณปู่ทวด นายหนึ่ง มีลูก 4 คน (หญิง 2 ชาย 2)  และต่อมาคุณปู่เสียชีวิตลง ประมาณปี 2485  ไม่ได้ทำพินัยกรรม

    ต่อมา ประมาณปี 2490 น้องชายของนายหนึ่งทั้ง 3 คน จึงได้ไปขอออกเป็นโฉนดที่ดิน ซึ่งไม่ทราบว่าคำร้องขอเป็นอย่างไร แต่ได้ใส่ชื่อร่วมกัน 4 คน เป็นชื่อของนายเอ (เป็นพ่อของผู้ถาม) บุตรชายของนายหนึ่ง และน้องชายของนายหนึ่งอีก 3 คน (สมมติชื่อ สอง สาม และสี่)

    นายเอ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 คน (พี่สาว 2 คน และน้องชาย 1 คน - นายเอเป็นบุตรคนที่ 3)  อย่างไรก็ตามนายเอและพี่น้องได้รับทราบเรื่องที่ดินแปลงนี้มาโดยตลอด และได้รับทราบว่านายเอมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ร่วมกับน้องชายของหนึ่ง (โฉนดที่ดิน มีชื่อ นายเอ นายสอง นายสาม และนายสี่ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกัน)

    ปัจจุบัน ที่ดินแปลงดังกล่าวได้มีการแบ่งโฉนดให้กับทายาทของนายสอง สาม และสี่ไปหมดแล้ว นอกจากนี้ น้องชายของนายเอ ก็เสียชีวิตไปแล้ว ประมาณปี 2540  แต่ขณะนี้ พี่สาวทั้ง 2 คนของนายเอ ได้นำเรื่องฟ้องขอแบ่งมรดกในที่ดินดังกล่าว ออกเป็น 3 ส่วน โดยอ้างว่าการใส่ชื่อนายเอในโฉนดที่ดินตั้งแต่ต้นเป็นการใส่ชื่อแทนพี่น้อง เนื่องจากนายหนึ่งซึ่งเป็นพ่อได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว (แต่แม่ของนายเอยังมีชีวิตอยู่ในขณะนั้น และได้เสียชีวิตในปี 2532)

    ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา พี่สาว 2 คน ของนายเอไม่เคยฟ้องร้องเรื่องดังกล่าว ไม่เคยมาขอใช้สิทธิเรียกร้อง แบ่งปันผลประโยชน์บนที่ดิน และนายเอก็เข้าใจมาโดยตลอดว่าเป็นที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง (นายเอเข้าใจว่าคนจีนสมัยก่อนจะแบ่งทรัพย์สินให้ลูกชาย ส่วนลูกสาวแต่งงานไปก็เป็นคนของครอบครัวอื่น)

    คำถามคือว่า

    ข้อ 1 ในกรณีนี้ จะสามารถยกเรื่องอายุความคดีมรดกเกิน 10 ปีมาเป็นข้อต่อสู้ ให้พิพากษายกฟ้องได้หรือไม่

    ข้อ 2  หากทำข้อ 1 ได้ จะต้องมีการไต่สวน สืบพยานกันก่อนหรือไม่ เพราะนายเอ (คุณพ่อของผู้ถาม ปัจจุบันอายุเกือบ 80 ปีแล้ว) ถ้ามีไต่สวน สืบพยาน ก็จะมีแต่ญาติๆ มาขึ้นศาลให้เป็นที่อับอายในหมู่ญาติ อยากให้เรื่องจบโดยเร็ว

    ข้อ 3 หากไม่สามารถยกเรื่องอายุความเกิน 10 ปี มาเป็นข้อต่อสู้ได้ นายเอ (พ่อของผู้ถาม) จะชนะคดีหรือไม่ หมายความว่า จะต้องแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่พี่สาวทั้ง 2 คน หรือไม่)

    ปัจจุบัน ศาลได้นัดไกล่เกลี่ยแล้ว ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้

    คำตอบ
    เป็นเรื่องที่ซับซ้อน และเป็นเรื่องที่เป็นคดีอยู่ในศาลแล้ว จึงควรปรึกษากับทนายความ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 สิงหาคม 2552