ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034736 พินัยกรรมแพงขวัญ20 เมษายน 2552

    คำถาม
    พินัยกรรม

    เรียน อาจารย์มีชัย ที่เคารพ

           ดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการทำพินัยกรรม แต่อยากจะทำไว้ก่อนแต่งงานเพราะดิฉันมีทรัพย์สินส่วนตัวค่อนข้างมาก ดิฉันได้ดาวน์โหลดแบบฟอร์มพินัยกรรมธรรมดา ทางอินเตอร์เน๊ต โดยแบบฟอร์มลงท้ายให้ดิฉันเซ็นตฺชื่อและพิมพ์ลายนิ้วมือลงไป พร้อมมีพยานพิมพ์ลายนิ้วมือ 2 คน คำถาม คือ

    1.  พินัยกรรมที่ดิฉันเขียนไว้ตามแบบฟอร์มนั้น จะถูกต้องตามกฎหมายแล้วหรือยัง หรือ ต้องไปให้นายอำเภอลงนามรับรอง หรือต้องทำอย่างไรให้พินัยกรรมนั้นถูกต้องตามกฎหมายและไม่เกิดปัญหาภายหลัง

    2. กรณีทรัพย์สินที่เป็นสิทธิพึงได้รับ เช่น เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ปัจจุบันยังไม่ได้รับแต่จะรับเมือเกษียณ) ถ้ากรณีเสียชีวิต คู่สมรถนั้นจะได้รับสิทธิ์ทั้งหมด  ทรัพย์สินลักษณะแบบนี้สามารถทำพินัยกรรมโดยระบุผู้รับผลประโยชน์คนอื่นด้วยได้หรือไม่

    ขอบคุณมากคะ  

        

    คำตอบ

    เรียน คุณแพงขวัญ

    1. แล้วจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าแบบฟอร์มนั้นหน้าตาเป็นอย่างไร  ถ้าพินัยกรรมนั้นคุณเขียนด้วยตัวเองทั้งฉบับ (เขียนด้วยลายมือ) ที่ใดทำผิดหรือแก้ไขก็ลงชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง พินัยกรรมนั้นก็เป็นพินัยกรรมทำด้วยตนเอง ไม่จำเป็นต้องมีพยานก็ได้ สำหรับลายนิ้วมือ นั้น ถ้าเขียนหนังสือและลงชื่อเองได้ก็ไม่ต้องพิมพ์ลายนิ้วมือ   อนึ่ง หากต้องการให้แน่ใจว่าพินัยกรรมนั้นจะไม่เป็นปัญหา ก็ควรทำพินัยกรรมแบบฝ่ายเมือง คือไปที่อำเภอให้นายอำเภอเขาทำพินัยกรรมให้

    2. เงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญอาจทำพินัยกรรมยกให้คนอื่นได้ แต่บำเหน็จตกทอดทำไม่ได้ เพราะเป็นเงินที่เกิดสิทธิขึ้นเมื่อตาย จะตกได้แก่ใครย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

         การทำพินัยกรรมนั้นจะทำเมื่อไรก็ได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องทำก่อนแต่งงานหรอก เมื่อแต่งงานแล้วก็ทำได้ เพราะเวลาทำก็ทำคนเดียวไม่ต้องไปบอกให้ใครรู้ก็ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 เมษายน 2552