ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034591 พนัยกรรมคุณแซน6 เมษายน 2552

    คำถาม
    พนัยกรรม

    เรียน ท่านมีชัยที่เคารพ

           ดิฉันมีข้อข้องใจอยากจะเรียนถามท่านดังนี้คะ

           1. ดิฉันแต่งงานกับสามีชาวต่างประเทศ  จดทะเบียนกัน  ก่อนแต่งงานดิฉันมีทรัพย์สินส่วนตัวค่อนข้างมาก ทั้งที่ดินและบ้าน และดิฉันได้ทำพนัยกรรมไว้ให้ญาติก่อนแต่งงาน คำถามคือ หากดิฉันเสียชีวิตลงสามีจะได้รับรับสิทธิ์ในทรัพย์สินในทรัพย์สินของดิฉันหรือไม่ หรือต้องจัดการตามพินัยกรรม

           2. หากดิฉันยกเลิกพินัยกรรมนั่นหมายถึงว่าทรัพย์สินทุกอย่างจะตกเป็นของสามีหากดิฉันเสียชีวิตใช่หรือไม่ หรือต้องแบ่งให้กับญาติคนไทยด้วย

          3. ดิฉันสามารถระบุเงื่อนไขลงในพินัยกรรมเพิ่มเติมเพื่อให้สามีได้รับทรัพย์สินเพียงส่วนได้หรือไม่  พนัยกรรมกับสิทธิ์ของสามีที่พึงได้รับอันไหนมีความสำคัญมากกว่ากันคะ

    ขอขอบพระอาจารย์มากๆ คะ ที่กรุณาให้ความรู้กับดิฉัน  

    คุณแซน

          

    คำตอบ

    1. เมื่อคุณทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของคุณให้คนอื่นแล้ว หากคุณตายไป ทรัพย์สินนั้นก็ย่อมตกไปยังคนที่คุณระบุไว้ในพินัยกรรม สามีคุณจะไม่มีสิทธิได้ทรัพย์สินส่วนที่เป็นสินส่วนตัวของคุณ (ซึ่งได้แก่ทรัพย์สินที่คุณมีมาก่อนสมรส)  แต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส ก็ต้องแบ่งครึ่งเสียก่อน  อย่างไรก็ตามในกรณีที่คุณอยากให้สามีคุณได้รับมรดก คุณก็สามารถเปลี่ยนพินัยกรรมใหม่ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 เมษายน 2552