ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034321 มรดกหฤทัย20 มีนาคม 2552

    คำถาม
    มรดก

    เรียน คุณมีชัย

    รบกวนสอบถามปัญหาเกี่ยวกับมรดกคะ คือว่าที่ดินที่อาศัยอยู่เป็นของย่า ย่ามีบุตรรวม 7 คน โดยมีการปลูกบ้านขึ้น 3 หลังในอาณาบริเวณนั้น(ปลูกมาหลายสิบปีแล้ว) ต่อมาย่าได้เสียชีวิตลง โดยไม่มีการแบ่งมรดกไว้ ปัจจุบันต้องการจะแบ่งที่ดินกัน บุตรของย่าจำนวน 4 คนปฏิเสธไม่ขอรับส่วนแบ่งในมรดก(ซึ่งบางท่านได้เสียชีวิตไปแล้วแต่ได้บอกไว้ก่อนที่จะเสียชีวิต) ปัญหาคือว่าบ้านที่ปลูกไว้ 3 หลัง เจ้าของบ้านบางหลังที่ปลูกบ้านไว้ใหญ่กว่าคนอื่นต้องการที่ดินตามจำนวนที่ปลูกบ้านไว้ โดยที่เจ้าของบ้านดังกล่าวอ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้เขาต้องได้รับที่ดินตามที่เขาได้ปลูกบ้านไว้และได้อ้างต่อไปอีกว่าแม่เขา(บุตรของย่า) มีลูกเยอะต้องได้ส่วนแบ่งที่เยอะกว่า
    อยากทราบว่ากรณีนี้ถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์หรือไม่คะ หรือว่าเป็นการครอบครองในฐานะผู้อาศํย ที่ดินต้องทำการแบ่งเท่า ๆ กันจำนวน 3 แปลง หรือต้องแบ่งตามขนาดของบ้านที่ปลูกสร้างไว้คะ
    ขอบคุณพระคุณเป็นอย่างสูงคะ

    คำตอบ

    เรียน คุณหฤทัย

        เมื่อย่าไม่ได้ทำมรดกไว้ ทรัพย์สินเหล่านั้นก็ตกได้แก่ลูกทั้ง ๗ คน  ได้คนละส่วน คนไหนตายไปแล้วส่วนของคนนั้นก็ตกได้แก่ลูก ๆ ของคนนั้น   เช่นที่ดินราคา ๗๐๐ บาท แบ่งเป็น ๗ ส่วน ๆ ละ ๑๐๐ บาท ลูกแต่ละคนได้ที่ดินมีมูลค่า ๑๐๐ บาท ลูกคนไหนตายไปแล้วก็ตกไปยังลูกของคนนั้น (หลาน) เช่น ลูกคนที่หนึ่งตายไปแล้วแต่มีลูก ๕ คน ลูกของคนนั้น ก็ได้รวมกัน ๑๐๐ บาท หรือได้คนละ ๒๐ บาท


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 มีนาคม 2552