ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034198 การทำพินัยกรรมจอย13 มีนาคม 2552

    คำถาม
    การทำพินัยกรรม

    เรียน  อ. มีชัย

    ขอรบกวนปรึกษาอาจารย์ค่ะ ว่าการยกทรัพย์สินยายให้หลานจะทำเป็น การโอนดีกว่าหรือว่าทำเป็นพินัยกรรม และถ้าทำเป็นพินัยกรรม เมื่อผู้ให้เสียชีวิต  ผู้รับยังไม่บรรลุนิติภาวะจะมีปัญหาหรือไม่ และต้องเสียค่าธรรมเนียมจากการได้รับมรดกมากกว่าการโอนให้หรือไม่ค่ะ ตอนนี้หลานอายุ 12 ปี และ 9 ปี ถ้าทำเป็นพินัยกรรม ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ  จะต้องไปทำที่อำเภอหรือเปล่า  และการเขียนพินัยกรรมที่ถูกต้องจะต้องเขียนอย่างไรบ้างค่ะจึงจะมีความสมบูรณ์ที่สุด

    กราบขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

     

     

    คำตอบ

    เรียน คุณจอย

    ไม่ว่าจะยกให้ตอนยังมีชีวิตอยู หรือทำพินัยกรรมยกให้เมื่อตายแล้ว ก็เสียค่าธรรมเนียมการโอนเท่ากัน จะมีปัญหาก็แต่เพียงว่า ถ้ายกให้เสียตั้งแต่บัดนี้ก็ได้เห็นผลทันตา แต่ถ้าทำพินัยกรรมให้ จะเกิดผลก็เมื่อตายไปแล้ว จะถูกใครฟ้องร้องหรือแย่งชิงหรือไม่ก็ยังไม่รู้  แต่ทั้งสองกรณีแม้ผู้รับจะยังอายุน้อยอยู่ก็ไม่มีปัญหาอะไร  การทำพินัยกรรมนั้นทางที่ดีที่สุดก็คือทำเป็นพินัยกรรมฝ่ายเมือง คือให้นายอำเภอทำให้  ก็จะปลอดภัยที่สุด ดูเหมือนจะเสียค่าธรรมเนียมเล็กน้อยไม่กี่บาท


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 มีนาคม 2552