ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    033247 สิทธิในมรดกส่วนของย่าซึ่งเป็นทายาทรับมาเมื่อคุณพ่อเสียลูกคนโต25 มกราคม 2552

    คำถาม
    สิทธิในมรดกส่วนของย่าซึ่งเป็นทายาทรับมาเมื่อคุณพ่อเสีย

    เรียนคุณมีชัย

    ดิฉันขออนุญาตเล่าเหตุการณ์เพื่อถามคำถามค่ะ

    คุณพ่อมีที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งเป็นชื่อคุณพ่อ และมีสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านให้คุณย่าอาศัยอยู่ ซึ่งที่ดินแปลงนี้พ่อได้เป็นคนนำเงินไปจ่ายซื้อรวบรวมพื้นที่จากญาติๆ (แต่ไม่แน่ใจว่ามีหลักฐานการซื้อขายหรือไม่ หรือว่าทำเป็นว่าคุณย่ายกให้เป็นชื่อคุณพ่อ ทั้งที่คุณพ่อเป็นคนจ่ายเงิน) ซึ่งการซื้อกระทำหลังจากที่ได้สมรสกับคุณแม่ดิฉันแล้ว ต่อมา ปี 31คุณพ่อเสีย จึงไปทำเรื่องโอนชื่อที่ดินเป็นของทายาท ซึ่งคุณย่าไม่ยอมสละมรดก ให้ใส่เฉพาะชื่อหลานๆ จึงทำให้มีชื่อร่วมในที่ดินผืนนั้นจำนวน 4 คน ได้แก่ คุณแม่ ดิฉัน น้องชาย และ คุณย่า ต่อมาปี 50 คุณย่าเสียชีวิต แต่มีหลานคนอื่น ต้องการจะได้ที่ผืนนั้นไปทำบ้านเช่า แต่คุณแม่บอกว่าไม่ต้องการให้ทำบ้านเช่า แต่จะให้พี่สะใภ้(ภรรยาพี่ชายพ่อ) อาศัยดูแลที่ดินและบ้านโดยไม่คิดค่าเช่า ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าทางครอบครัวจะมีการตัดสินใจเปลี่ยนแปลง ใดๆ ดิฉันขออนุญาตตั้งคำถามดังนี้ค่ะ

    1 สัดส่วนสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นของทายาทแต่ละคน ทั้งก่อนและหลังคุณย่าเสียเป็นอย่างไรคะ (เพราะอ่านในกระทู้คำถามต่างๆ ดิฉันเข้าใจว่าคุณแม่มีสิทธิ์สินสมรสในที่ดิน 50% และสิทธิในฐานะทายาทอีก 1ใน4 ของ50%ที่เหลือ ร่วมกับดิฉัน น้องชาย และคุณย่า คนละ 1ใน4 ของ50%ที่เหลือ  หรือว่าในเมื่อปี 31 มีชื่อทายาทร่วม 4 คน ทำให้ทุกคนมีสิทธิ์ 25% ในที่ดินเท่ากันค่ะ)

    2 มีทางที่จะทำให้ครอบครัวดิฉันและน้องชาย ซึ่งเป็นทายาทของคุณพ่อได้สิทธิ์ครอบครองที่ดินทั้งผืนกลับมาหรือไม่คะ

    3 คุณย่ามี ลูก 4 คน ซึ่งเสียชีวิตก่อนคุณย่า ทั้งหมด ในส่วนสิทธิ์ในที่ดินผืนนี้ของคุณย่านี้จะต้องทำอย่างไรบ้างคะ

    4 เราจะป้องกันสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์จากพี่สะใภ้คุณพ่อได้อย่างไรบ้างคะ (เป็นการป้องกันเหตุก่อนจะสาย)

    5 แล้วดิฉันและน้องชาย จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งเป็นชื่อของคุณย่าด้วยหรือไม่คะ เนื่องจากอยู่กันคนละจังหวัด เลยทำให้ไม่ทราบความเคลื่อนไหวว่ามีการจัดการมรดกของคุณย่าอย่างไร และก็ไม่มีการแจ้งให้ทราบ (อีกทั้งหลานคนที่ถือใบมรณะบัตรของคุณย่า คือคนที่ต้องการนำที่ดินที่เป็นคำถามไปทำบ้านเช่า) ดิฉันควรจะทำอย่างไรคะ รบกวนแนะนำด้วยคะ

    ขอขอบคุณเป็นอย่างสูง

    คำตอบ

    เรียน ลูกคนโต

    1. ถ้าที่ดินนั้นย่าเป็นคนยกให้ ที่ดินนั้นก็เป็นสินส่วนตัวของพ่อ แต่ถ้าเป็นการซื้อขาย ที่ดินนั้นก็เป็นสินสมรส (จะดูว่ายกให้หรือซื้อขาย ก็ดูจากรายการหลังโฉนดซึ่งควรจะปรากฏอยู่) ในกรณีที่เป็นการซื้อขาย และเป็นสินสมรส และการโอนใส่ชื่อ แม่ คุณ น้องและย่า ไม่ได้ระบุสัดส่วนไว้ แต่ละคนจะมีสัดส่วนดังนี้ คือ ครึ่งหนึ่ง เป็นของแม่ในฐานะที่เป็นสินสมรส อีกครึ่งหนึ่ง แบ่งกันระหว่างแม่ ย่า คุณ และน้องชาย คนละส่วนเท่า ๆ กัน ถ้าแบ่งที่ดินนั้นเป็น ๘ ส่วน แม่จะได้ ๕ ส่วน คุณ ย่า และน้องชาย จะได้คนละส่วน เมื่อย่าตาย ส่วนที่เป็นของย่าก็จะตกได้แก่ลูกของย่า สำหรับคุณและน้องชายก็จะได้รับมรดกแทนที่พ่อของคุณ

    2. เมื่อแต่ละคนมีสิทธิในที่ดินนั้นตามที่บอกไว้ในข้อ 1 การที่คุณจะเอาที่ดินทั้งหมดมาเป็นของครอบครัวคุณ ก็ต้องไปซื้อจากทายาทคนอื่น ๆ

    3. ถ้าลูกของย่ามีลูก (หลานของย่า) ที่ดินนั้นก็จะตกทอดแก่หลานดังกล่าว ทำนองเดียวกับที่คุณจะได้รับมรดกแทนที่พ่อของคุณ

    4. ถ้าจะให้เขาอยู่อาศัย ก็ทำหนังสือสัญญาให้อยู่อาศัยกันไว้เสียให้ชัดเจน

    5. สิทธิของคุณกับน้องชาย ก็ต้องคอยไปติดตามดูแล ทางที่ดีก็ควรไปจัดการตั้งผู้จัดการมรดกเสีย โดยให้แม่ของคุณซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียมากที่สุดเป็นผู้จัดการมรดก แล้วจัดการแบ่งไปตามสิทธิของแต่ละคน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 มกราคม 2552